เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ภายใต้ประเด็น “การปรับตัวเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์” ที่จัดขึ้นที่ เฟซบุ๊กเพจ Digital University มหาวิทยาลัยดิจิทัล ศ. ดร. นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นอีกบุคคลสำคัญซึ่งนำมุมมอง มุมคิด และประสบการณ์ตรงจากการทำงานในหลากมิติมาถ่ายทอดอย่างน่าสนใจ
ด้วยมีหน้าที่ในฐานะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโสต ศอ นาสิก พ่วงด้วยภารกิจซึ่งเป็นทั้งผู้บริหารระดับสูง และอาจารย์ ทำให้ความรับผิดชอบค่อนข้างกว้างขวางมากกว่าการตรวจรักษาผู้ป่วย ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมจึงสะท้อนมุมมองเอาไว้ในหลายส่วน ทั้งการเป็นอาจารย์แพทย์ที่มุ่งเน้นเรื่องการศึกษา มุมมองด้านการศึกษาโดยตรง และมุมมองด้านการแพทย์
ผลกระทบจากยุคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว กับภาคการศึกษาไทยที่ต้องปรับตัวแรง
ต่อประเด็นที่ว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเฉพาะ AI เข้ามามีบทบาทในทุกมิติอย่างปฏิเสธไม่ได้ ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมเปิดการพูดคุยด้วยการอธิบายในภาพกว้างเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันว่าควรหันกลับมามองผลผลิตหรือบัณฑิตที่ผลิตออกไปจากมหาวิทยาลัยว่ารองรับสิ่งที่เป็นปัจจุบันและอนาคตมากน้อยอย่างไร เพราะจากการรวบรวมข้อมูลพบว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีบัณฑิตจบใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานจำนวนมากกว่า 5 แสนคน และมากกว่า 60% ทำงานไม่ตรงกับสาขาที่สำเร็จการศึกษา และผู้จ้างบัณฑิตมีจำนวนลดลงถึง 45% ซึ่งอาจเป็นผลจากการเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งมีเครื่องทดแทนคนค่อนข้างมาก
“คำว่า Wage Scar คือคนที่เรียนจบมาในปีแรกแล้วไม่ได้งานทำ พอปีที่ 2 ก็มีรุ่นน้องเข้ามาทดแทนอีก ถ้าไม่ได้อยู่ใน Top 5 หรือ Top 10 ก็จะตกงานต่อไปอีก ตกงานไปเรื่อย ๆ ทำให้เกิด Wage Scar คือ ตกงานถาวร ตรงนี้เป็นเรื่องน่าห่วงมาก คงต้องอาศัยพวกเราหลาย ๆ คนในการที่จะเข้ามาปรับเปลี่ยนตรงนี้ เพื่อให้มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ของมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง คือผลิตบัณฑิตที่มี Competency ที่เหมาะสมกับปัจจุบันและอนาคต”
กระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้ง Instructional และ Institutional นั้นเปลี่ยนมาตลอด
ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมกล่าวว่าตั้งแต่ปี 1900 หลักการทางการศึกษาโดยทั่วไปมุ่งเน้นหลักสูตรวิทยาศาสตร์ (Scientific Curriculum) จากนั้นจึงเป็น University Based และนับมาประมาณ 100 ปีที่ระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน ถึงเริ่มหันมาสู่เรื่อง Problem-Based Learning หรือ PBL ซึ่งมีหลักการที่ว่า Institutional อาจไม่ต้องเป็นมหาวิทยาลัย อาจเป็น Academic Centers เข้ามาร่วมด้วย แต่ที่สุดแล้ว ตั้งแต่ปี 2010 ถึงปัจจุบัน ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมเชื่อว่าต้องปรับเปลี่ยนต่อไป เพราะ AI เข้ามามีบทบาทอย่างมาก “คงเป็นเรื่อง Competency Driven เรียกว่าทั้ง Local-Global ต้องเปลี่ยนคนให้มี Competency ตรงกับงานที่จะไปทำ ยิ่งจะเป็น Education Systems ที่ไม่อิงกับมหาวิทยาลัยมากนัก มหาวิทยาลัยต้องตื่นตัวให้มากยิ่งขึ้น”
ถึงตรงนี้ ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมจึงเน้นย้ำว่าการเรียนการสอนในรูปแบบเดิมต้องปรับเปลี่ยนไปสู่ Social And Emotional Learning หรือ SEL ซึ่งหลักใหญ่ใจความสั้น ๆ คือ การสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) ทั้งเรื่องของ Self และ Social ว่ามีบทบาทสำคัญ พร้อมกันนี้เรื่อง Relationship Skills, Decision Making ฯลฯ ต้องอาศัยองค์ประกอบทั้งในห้องเรียน บ้าน ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วม ถึงจะเกิด Work-Life Balance และเหมาะกับเจเนอเรชันปัจจุบัน
Digital University เตรียมความพร้อมทั้งคน หลักสูตร และ AI
เมื่อกล่าวถึง โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมกล่าวว่าในวันนี้ต่างเห็นตรงกันว่าโฉมหน้าการศึกษาของประเทศเปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ แต่พบว่าการเรียนการสอนในบางสาขาหรือในบางคณะยังเหมือนเดิม “เป็นเรื่องที่ต้องใส่ Question Mark ตัวโต ๆ ไว้เลยว่า ถึงเวลาหรือยังที่จะต้องเปลี่ยน เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วขนาดนี้ ถ้าเรายังเคลื่อนช้า เราจะแข่งขันได้ไหม”
ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมเล่าถึง Individual Learning & Teaching Development Plan หรือ ILTDP ที่มีความมุ่งหวังต่อเรื่อง Ideal กับเนื้อหาสาระสำคัญที่ว่าสังคมไทย 67 ล้านคน ทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะผ่านการศึกษาระดับไหน อยู่ร่วมกันใน Current Situation เดียวกันคือสภาพสังคมปัจจุบันที่มี Disruptive Technology เพราะฉะนั้น ILTDP จะต้องรองรับสิ่งเหล่านี้
การจัดทำหลักสูตร ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมใช้คำว่า HCT คือหลักสูตรไม่ว่าจะเป็นระยะสั้น ระยะยาว หรือคอร์สแบบไหนก็ตาม จะมีแกนที่มุ่งให้มี Spiral คือ เรื่อง Health (H) “ขาดไม่ได้ เพราะถ้าคนไม่แข็งแรง ทั้งกายและใจ ทั้งจิตวิญญาณ ทั้งสังคมจิตวิญญาณ ก็จะทำให้เขาไม่ Productivity เพราะฉะนั้นเรื่อง Health ต้องกลับมาดูกันใหม่ตั้งแต่อาหารการกิน ความเป็นอยู่ สภาพจิตใจ จะเห็นว่าปัญหาของสังคมไทยนั้นซ่อนอยู่ เวลาที่ไม่มองก็ไม่เห็น แต่เวลาเกิดเรื่อง เกิดข่าว เราถึงจะเห็น”
เรื่อง Culture (C) ต้องหันกลับมาดูว่าสิ่งที่ดีในประเทศของเราคืออะไร Culture แบบไหนที่เราควรอนุรักษ์ไว้”ที่พูดถึงกันเรื่อง Pros & Cons เป็นการพูดบางส่วน เอียงไปถึงเรื่องที่ถ้าเน้นหนักไปในทางเทคโนโลยีโดยลืมความเป็นมนุษย์ต่อมนุษย์ ถือว่าเสียหาย เรื่อง Culture จึงสำคัญ”
สุดท้าย เรื่อง Technology (T) ต้องเรียนรู้และเท่าทัน จึงจำเป็นต้องเริ่มว่าถ้าจะรับใครสักคนเข้ามาเรียน ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นไหนควรจะเริ่มตั้งแต่ Attitude, Skills, Knowledge ทั้งนี้ควรแบ่งว่าจะใส่อะไรแค่ไหนในช่วงวัยไหน อาทิ ช่วงวัยอนุบาล-ประถม ต้องเน้น Skills กล้ามเนื้อมัดเล็ก-มัดใหญ่ เน้นเรื่องการหล่อหลอมจิตใจ เมื่อโตขึ้นไปจึงเน้นเรื่อง Skills ที่มากขึ้น และต่อไปจึงเน้นเรื่อง Knowledge ต่าง ๆ
“นี่เป็นสิ่งที่มุ่งหวังให้เกิด ควรดูความคาดหวังและดูข้อมูลของเขาก่อน และถ้ามี AI ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น Machine Learning หรือ Deep Learning ในอนาคต จะให้ AI วิเคราะห์ก่อนได้ไหมว่าคนแบบนี้เมื่อนำมาผนวกกับสมรรถนะที่เป็นที่ต้องการของสังคม ชุมชน คือส่วนที่แมตช์กันดีมากน้อยแค่ไหน อย่างไร กับเรื่องอะไร กับสาขาอะไรที่เขาควรจะเรียน เพราะแต่ละคนไม่เท่ากัน ความรู้ความสามารถไม่เท่ากัน Intelligent ไม่เท่ากัน แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีระดับไอคิวต่ำจะต้องไปอยู่ในสถานะที่ต่ำกว่า มีอีกหลายมุมของความสามารถทางด้านความเป็นมนุษย์ เช่น ด้านกีฬา ด้านการร้องเพลง ด้านการทำอาหาร ฯลฯ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องไอคิว
“ตรงนี้ต้องนำมาผนวกกัน และจัดหลักสูตรที่ตรงกับทั้ง 3 อย่าง คือ ความคาดหวัง ต้นทุนของเขา และสมรรถนะที่เราต้องการผลิตออกมา หลังจากนั้นเราจะต้องมีระบบประเมินที่ดี เพื่อให้ไปสู่ผลสัมฤทธิ์ว่าคนนี้ควรจะเรียนหลักสูตรระยะสั้นในสาขานี้ คนนี้ควรจะต้องเรียน Degree แบบนี้ คนนี้เรียนเป็น Credit Bank นำมาฝากไว้ก่อน กลับไปทำงานก่อน แล้วค่อยกลับเข้ามาเรียนเพิ่มเติม เป็นต้น”
ถ้าเทคโนโลยีทันสมัยจริง ๆ กระบวนการที่เคยคิดว่ามันยุ่งยาก จะไม่ยุ่งยากอีกต่อไป ถ้า AI เป็น General เป็น Super AI ต่อไปจะยิ่งง่ายขึ้น
AI พลิกโฉมการแพทย์สู่การดูแลสุขภาพ
จากการศึกษาของภาคมหาวิทยาลัยไทย ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมนำเรามาสู่การแพทย์และการรักษาพยาบาลของพลเมืองโลก “ถ้าเป็น New Paradigm ของ Future Medicine เราจะต้องเปลี่ยนรูปแบบของการรักษาพยาบาล” ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมกล่าว “เดิมมองว่าเราจะต้องรักษาคนเจ็บป่วย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง ปัจจุบันเราจึงเน้นไปในเรื่อง Holistic Care และทำ Early Care คือป้องกันเสียก่อน ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต้องนำลงไปอยู่ปกติ ผู้ที่ป่วยระยะต้นต้องรับ Cure เพื่อให้กลับมามี Productivity ตรงนี้จะทำให้พลเมืองของประเทศนั้น ๆ ผลิต GDP ได้ และอยู่ในส่วนที่ไม่มี High Cost เรื่องการรักษาพยาบาล
เรื่อง One-Size-Fits-All จะหมดไปเพราะ Personalized Medicine เริ่มมา
“อย่างที่เราพูดถึงหลาย ๆ ครั้งว่า Genetics มีส่วนสำคัญ ซึ่ง Genetics ก็สำคัญจริง ๆ เพราะถ้าลงไปให้ลึก บทบาทของเทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยได้มาก
“Western Medicine ต้องแปลงรูปให้เป็น East-West Medicine นำตะวันออกมาประกบกับตะวันตก เป็น Alternative Medicine ซึ่งอิงธรรมชาติมากขึ้น ไปโฟกัสเฉพาะร่างกายไม่ได้แล้ว ต้องเป็น Mind-Body
“เรื่อง Diagnosis กับ Treatment ก็ต้องเปลี่ยน ไม่ใช่มุ่งเน้นสร้างโรงพยาบาล 5,000 เตียง 10,000 เตียง ซึ่งไม่ตอบโจทย์ ต้องเป็นเรื่อง People Well-Being คือเน้นไปที่เรื่อง Quality Of Life และ Health Care ต้องเปลี่ยนเป็น Wealth Care”
นอกจากนี้ ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมยกตัวอย่าง ‘โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่’ ในปัจจุบันที่ใช้ IBM Watson (ระบบ Cognitive Computing แห่งยุคข้อมูลจำนวนมหาศาล) นั้นก็เรียกว่าเป็นขั้นของ Machine Learning ไม่ใช่ขนาด Deep Learning หากเป็น Machine Learning ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมได้อธิบายว่าในสโคปของ AI ก็ยังถือว่ามีประโยชน์มาก เช่น ในอดีตการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องอาศัยแพทย์หลายแขนง “ปัจจุบัน IBM Watson ซึ่งเป็น Machine Learning แบบหนึ่ง และได้รับการพัฒนามาระดับหนึ่ง ปัจจุบันได้รับการนำมาใช้ในแผนกของการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง พบว่าปริมาณของ Documents 40 ล้าน Documents นั้น AI สามารถประมวลได้ภายใน 15 วินาที ซึ่งอันนี้ผมไม่แปลกใจเพราะกระบวนการของ Machine Learning ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่มีประโยชน์มาก และการรักษาจะมี Option ที่แม่น ตรง และสามารถที่จะลดระยะเวลาในการรอคอยได้ เพียงแต่เราป้อนข้อมูลให้ถูกต้องว่า Cell Type เป็นอะไร อยู่ Staging ไหน มี Complication อย่างอื่นร่วมไหม มี Systemic Disease ร่วมไหม แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในองค์ความรู้ที่เป็นองค์ความรู้สมัยใหม่ที่มีใน Journal ก็จะมากองรวมกัน แล้วบอกออกมาเป็น Option ให้แก่แพทย์ผู้ดูแล ให้เลือกเป็น Choices ในการรักษาได้เลย”
ความหลากหลายและบทบาทของเทคโนโลยีบนเส้นทางการรักษาผู้ป่วย
ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมไล่เลียงบทบาทของเทคโนโลยีต่าง ๆ ตั้งแต่ เทคโนโลยี Blockchain และอธิบายว่าเป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงและยังเข้าไปสู่เรื่องความเป็นส่วนตัว โดยมีส่วนสำคัญคือสามารถนำมาประยุกต์กับ Electronic Medical Record ขณะที่ เรื่อง Robot พบว่าปัจจุบันมีการใช้ Robot ทำงานในส่วนที่มือมนุษย์เข้าไปลำบากและไม่แม่นยำในหลาย ๆ ครั้ง หรือแม้แต่การใช้หุ่นยนต์ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ที่ช่วยลดการสัมผัสได้มาก รวมถึง เรื่อง 3D Printing ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ล้ำและมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์อย่างยิ่ง คือการโคลนนิงมนุษย์เพื่อนำอวัยวะมาทดแทนซึ่งทำไม่ได้ในอดีต เพราะเป็นผิดจริยธรรม แต่เทคโนโลยี 3D Printing สามารถนำ Tissue มาพรินต์เป็น Bioprinting เพื่อทดแทนอวัยวะที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะส่วนไหนที่ยังไม่สามารถจะหามาแทนได้ ซึ่งน่าจะมีบทบาทในเร็ววันนี้ ส่วน เรื่อง Information ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมกล่าวว่า Healthcare Information ต้องกลายเป็น Oneself คือเป็นของบุคคลนั้น ๆ และไม่ได้เป็นเฉพาะประวัติการตรวจรักษาเท่านั้น หากจะลงไปถึง Genetic ดังที่เห็นแล้วว่าปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขทำโครงการ Whole Genome Sequencing หรือการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์และจุลลินทรีย์ทั้งจีโนม ประมาณ 50,000 ราย เพื่อหาว่าในยีนของคนไทยมีส่วนไหนที่ผิดปกติมากน้อยแค่ไหนอย่างไร และนำมาวิเคราะห์ต่อไป เป็นต้น
ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมสรุปผลกระทบ 4 ด้านจาก AI ทั้ง Machine Learning และ Deep Learning
กระบวนการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
“ทำไมเราต้องเรียนแบบนั่งอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมแล้วฟังครูที่ยืนอยู่หน้ากระดาน ไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว และย้อนกลับไปอย่างนั้นไม่ได้
“นิสิตแพทย์หรือนักเรียนทั่วไปอยากเรียนในรูปแบบ Immersive Learning คือ นำตัวเองจุ่มลงไปแล้วก็เรียนรู้จาก ประสบการณ์ เพราะการเรียนรู้ที่ทำให้เกิด Long-Term Memory คือการเรียนแบบ Episodic หรือการเรียนจากสถานการณ์จริง แต่บางครั้งเราไม่สามารถนำเขาเข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริงได้ เราก็ใช้ Hololens” ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมกล่าวถึงการนำใช้ Hololens เป็น Augmented Reality (AR) ที่มีทั้ง Virtual และ Real อยู่ในคราวเดียวกัน จากโครงการที่รับผิดชอบ ซึ่งได้รับทุนจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) “คนที่นั่งอยู่บนโซฟานั้นก็ไม่ใช่คนไข้จริง เป็นคนไข้ที่สร้างขึ้นมาจากตัว Hololens แล้วเราก็คอนโทรลผ่านโปรแกรม ปัจจุบันเรามีหุ่นสำหรับการฝึก โดยเฉพาะนิสิตแพทย์ เรามีเยอะมาก แล้วทำไมไม่ใช้สิ่งเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์กับในสาขาอื่น ๆ ด้วย น่าจะต้องนำไปใช้
“อีกเรื่องหนึ่งของการเรียน เมื่อเทคโนโลยีที่มาถึงขนาดนี้ ทำไมจึงไม่ทำเรื่องของ Gamification ทำไมจึงไม่หารูปแบบอื่น ๆ มาให้นักเรียนได้เรียนในแบบที่เขาเข้าใจไปด้วย สนุกไปด้วย ได้ทักษะไปด้วย นำไปใช้จริงได้ด้วย เรายังคงให้นักเรียนเรียนคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะในรูปแบบเดิม เรื่องการปรับรูปแบบให้เป็นเกม เรื่องของการเรียนแล้วสนุกไปด้วย ได้พบของจริง จดจำได้นาน มีทักษะ ตรงนี้ถึงจะตอบโจทย์ แล้วเราถึงจะหาคนที่มี Innovative Design, Innovative Thinking เกิดขึ้นได้จริงแล้วก็ไปพัฒนาต่อยอดให้ประเทศไทยเรามีศักยภาพในการแข่งขันได้ในอนาคต”
การเตรียมความพร้อมต้องเริ่มที่คนให้เข้าสู่ยุคที่เขาจะไม่เหมือนเดิม
ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมกล่าวว่าเรื่องการเรียนต้องปรับตั้งแต่กระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนมี Growth Mindset ถ้าผู้เรียนยังคงเป็น Fixed Mindset คงเปลี่ยนอะไรไม่ได้ “การเรียนโดยถูกบังคับกับการเรียนที่อยากเรียนนั้นต่างกันมาก การสร้างความตระหนักให้เขารู้ว่าโลกเปลี่ยนไปเป็นพลวัตร มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา และเขาต้องทำให้ได้ เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นจากภายในของเขาเอง แล้วค่อยมาสร้าง Skills ให้เขาโดยมีเครื่องมือกับวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม”
เรื่อง Ethics และการวัดประเมินผล ต้องมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้อยู่ในกรอบของคุณธรรม จริยธรรม (ไม่หลงเข้าไปอยู่ในเรื่องของคนฉลาดทำสิ่งต่าง ๆ ได้) “ปัจจุบันมีระบบ CRISPR/Cas9 (ระบบภูมิคุ้มกันของแบคทีเรียในการกำจัดสายดีเอ็นเอแปลกปลอม) ที่เข้าไปตัดต่อยีน และมีบางส่วนที่เข้าไปทำโดยที่ไม่ตระหนักถึง Long Term Consequence หรือผลระยะยาว อย่างนี้คือฉลาดแต่ไม่อยู่ในกรอบคุณธรรม จริยธรรม”
เรื่อง System Development ถ้าทำได้และทำให้เป็นระบบโดยไม่ติดยึดกับตัวบุคคล จะทำให้ระบบยั่งยืน
ปัจจัยความสำเร็จเพื่อก้าวไปพร้อมกับการเข้ามาของเทคโนโลยี และ AI
ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมเน้นย้ำ วิธีคิดแบบ System Thinking ที่สร้างคนให้คิดเป็นระบบและมองเห็นองค์ประกอบต่าง ๆ อย่างครบถ้วน พร้อมกับยกตัวอย่าง Triple AIM ที่เกี่ยวกับการบริการสุขภาพในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่มี หลักการ 3 ส่วน คือ 1) การเข้าถึงระบบบริการ (Access) 2) ค่าใช้จ่าย (Cost) และ 3) Quality หรือ Standard ในการรักษา
“คำถามง่าย ๆ คือถ้าจะทำให้การเข้าถึงเป็นไปได้ 100% ของคน 67 ล้านคน รวมถึงการบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานด้วย ค่าใช้จ่ายต้องสูงไหม เป็นไปตามตรรกะ คือต้องสูง แต่ทำอย่างไรถึงจะทำให้เรื่อง 100% Access กับเรื่องของ Standard High Qualityให้คงอยู่ได้โดยที่ Cost ไม่สูง นี่คือวิธีคิดแบบ System Thinking
“เพราะฉะนั้นต้องไปหาแนวทางใหม่ ขืนอิงกับแนวทางเดิม ผู้เจ็บป่วยมาโรงพยาบาลก็รักษา ขยายโรงพยาบาลไปเรื่อย ๆ ผลิตหมอเท่าไรก็ไม่เพียงพอ
เริ่มคิดก็เริ่มจะมีแนวทาง พอเริ่มมีแนวทางก็เริ่มจะต่อยอดได้ มีเทคโนโลยีเข้ามาก็เริ่มจะไปได้เร็วขึ้น
“เรื่องเหล่านี้ไม่ไกลเกินอนาคตอันใกล้ เรื่อง Value-Based เรื่อง Outcomes-Based จะต้องถูกนำมาพัฒนาในระบบการแพทย์ของเมืองไทย แล้วจะ Decrease Cost โดยที่ยังคงคุณภาพกับการเข้าถึง 100% Access ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังได้”
Health Information Technology ของไทยต้องขยับอย่างรุนแรง
ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมยังชี้ให้เห็นว่า Health Information Technology เป็นจุดอ่อนของประเทศไทยอย่างหนึ่ง ดังจะเห็นว่าความเชื่อมโยงของระบบ IOS ที่เป็นระบบปฏิบัติการในโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ไม่เชื่อมกัน ดังเช่น เรื่อง District Health System ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่ ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมทำโครงการมานานกว่า 4 ปี โดยประยุกต์มาจาก WHO ผนวกกับเรื่อง Community Health System เข้าไปอีกระบบ พบว่าเป็นข้ออ่อนที่เห็นชัด ต้องเข้าไปขยับอย่างรุนแรง และมาสู่คำถามที่ว่า ‘เมื่อมีเทคโนโลยีขนาดปัจจุบันนี้แล้ว ทำไมเรายังอยู่ใน Quadrant ที่เป็นไดโนเสาร์’
ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมสะท้อนภาพ The WHO Health Systems Framework โดยหยิบยกเทคโนโลยีสำคัญมาเพิ่มเติม แบ่งเป็นส่วน System Building Blocks ที่เป็นเรื่องของ Communication ได้แก่ 1) Service Delivery 2) Health Workforce 3) Health Information Systems 4) Access to Essential Medicines 5) Financing 6) Leadership/Governance และส่วน Overall Goals/Outcomes ได้แก่ 1) Improved Health 2) Responsiveness 3) Social and Financial Risk Protection 4) Improved Efficiency “ผมใส่เทคโนโลยีตัวใหญ่ ๆ เอง องค์การอนามัยโลกไม่ได้ใส่มา เพราะว่าบริบทของเรายังไปไม่ถึงตรงส่วนที่น่าจะเป็น Standard และให้มันออกมาทางด้าน Improved Health, Responsiveness อย่างตอนโควิด-19 เรา Responded ไม่เร็วเลย ยังมีเรื่อง Social & Financial Risk Protection ที่เราก็ต้องทำ ดีที่เรามีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งช่วยผ่อนหนักเป็นเบา ถ้าเราไม่พัฒนาเรื่องกระบวนการเพื่อให้อยู่ได้ยาวนาน ก็ไม่รู้ว่าจะหายไปวันไหน และเรื่อง Improved Efficiency ด้วย ถ้าทำ เรื่อง District Health System ซึ่งผมได้ประยุกต์ในเมืองไทยแล้วเป็น Six Building Blocks Plus One” ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมกล่าวถึง DHS by 6BB+1 หรือ Six Building Blocks Plus One ซึ่งประกอบด้วย 1) Leadership Governance 2) Health Service Delivery 3) Health Workforce 4) Health Information Systems 5) Access to Essential Medicines 6) Health System Financing 7) Community Health System
“นอกจากนี้ถ้า Work In Emergencies โดยไม่มีแผนงานโครงการที่ชัดเจน ก็จะสะเปะสะปะมาก ดังนั้นถ้าจะทำ Work In Emergencies ต้อง Prepare, Prevent, Detect, Respond อย่างชัดเจน
“Healthcare ในยุคใหม่พัฒนาไปไกลแล้ว และมีหลายเครื่องมือที่เข้ามาช่วยลดความทุกข์ทรมาน รวมถึงอย่ามอง Sector อื่น ๆ เป็นผู้ร้าย เช่น ภาครัฐต้องมองโรงพยาบาลเอกชนเป็นพาร์ตเนอร์ เขาช่วยแบ่งเบา เขาช่วยทำให้ระบบเดินไปข้างหน้าได้ ขณะเดียวกันต้องช่วยสนับสนุนให้เขามีที่มีทาง ให้เขาเข้ามาช่วยกันบริหารจัดการเรื่องของความเจ็บป่วยทุกข์ทรมาน ซึ่งจะถูก Release ไปได้ด้วยการร่วมไม้ร่วมมือกัน และในที่สุดจึงเรียกว่า Self Health Determinant คือการดูเรื่องปัจจัยกำหนดสุขภาพโดยประชาชนเอง เป็นขั้นตอนสุดท้าย ประชาชนดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้จากต้นไปถึงปลายทาง
“Mindset ต้องเป็น Growth Mindset แล้วทำเรื่องของ Attitude, Skills, Knowledge ให้มี Domain Knowledge ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ทำ Data Access And Security ทำ Workflow ให้ดี เรื่อง Explainability และ Trust ต้องสร้างให้เกิดขึ้นกับบุคลากรหรือคนในองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องของการนำ AI ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชน เป็นเรื่องของการทำ Perception ว่าไม่มีความน่ากลัว มีความโปร่งใส และสามารถนำ AI มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนา ที่สำคัญ ไม่อยากใช้คำว่า Leader เพราะอยากให้มี Champion ในองค์กรเยอะ ๆ ที่เห็นความสำคัญเรื่อง AI และนำมาพัฒนา ถ้าร่วมไม้ร่วมมือกันก็น่าจะข้ามไปได้”
True success is not in the learning, but in its application to the benefit of mankind.
เรียนไปถ้าไม่นำมาใช้ประโยชน์เพื่อผู้อื่น ไม่มีประโยชน์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ก็ไร้ประโยชน์
พระราชดำรัส สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชบิดาแห่งวงการแพทย์ไทย
นี่คือข้อความทิ้งท้ายจากการถ่ายทอดความรู้ในช่วงเวลาอันจำกัด ทว่ามากด้วยประโยชน์ จากแพทย์ อาจารย์หมอ และผู้บริหาร – ศ. ดร. นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ ณ เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society
ชมเสวนาออนไลน์ Digital University : Enabling The Smart Society ในหัวข้อ “การปรับตัวเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์” ได้ที่นี่ Https://Fb.Watch/M1a6iytkg8/?Mibextid=Ae13le
5 ข้อค้นพบจากคนหลังบ้าน
จากประสบการณ์และจากผู้ที่เข้าร่วมโครงการ สิ่งแรกที่คนหลังบ้านได้ค้นพบคือ ‘องค์กร’ หรือวิสัยทัศน์ขององค์กร กล่าวคือหลายองค์กรมีวิสัยทัศน์ที่ดี แต่กระบวนการที่จะไปถึงอาจยังมีข้อติดขัด โครงการที่เกิดขึ้นจึงอาจช่วยให้ข้อติดขัดบางอย่างไปต่อได้ กระบวนการต่าง ๆ สามารถดำเนินไปได้อย่างลื่นไหล “ส่วนที่ 2 คือ ความตระหนัก รู้เกี่ยวกับการหาแนวทาง เมื่อมหาวิทยาลัยได้หาแนวทางว่าถ้าจะมุ่งไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ซึ่ง ณ ตอนนั้นข้อมูลข่าวสารของโครงการอาจยังไม่หลากหลายและทั่วถึง แต่ก็สามารถหาบุคคล หาองค์ความรู้มาสนับสนุนในเบื้องต้นได้ ส่วนถัดมาคือ วิสัยทัศน์/วิกฤต หมายความว่า องค์กรจะขับเคลื่อนด้วยวิสัยทัศน์ หรือจะรอให้เกิดวิกฤตเสียก่อนถึงจะเดินหน้าไปต่อ ส่วนถัดมาคือ การรวมกลุ่มขององค์กร เป็นการเชิญทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมทำงาน ซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้องค์กรขับเคลื่อนได้ก่อน”
สำหรับ ‘หน่วยงาน’ พบว่า เมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับการมุ่งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลกับ ‘โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ แล้ว จึงกลับมาเช็กมาดูกันว่างานที่ทำอยู่นั้นตอบโจทย์กับวิสัยทัศน์หรือตอบโจทย์กับแฟล็กชิปของมหาวิทยาลัยหรือไม่ เกิดเป็นการทบทวน ทำให้เกิดความตระหนักขึ้นในองค์กรว่าถ้ายังไม่ตอบโจทย์กับวิสัยทัศน์หรือตอบโจทย์กับแฟล็กชิปของมหาวิทยาลัย แล้วจะขยับอย่างไร “มีการปรับตัว หาองค์ความรู้ เข้ามาในโครงการ ทั้งเพื่อสอบถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งล้วนแต่เป็นการเริ่มขยับ หน่วยงานในมหาวิทยาลัยส่วนไหนที่มีความพร้อมก่อนก็ไปก่อน เพื่อเป็นต้นแบบให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ที่จะขยับไปด้วยกัน” อาจารย์วสันต์กล่าว “ถัดมาคือการให้ความร่วมมือของหน่วยงาน และระหว่างหน่วยงาน เพราะอย่าลืมว่าหน่วยงานแต่ละหน่วยงานที่ทำงาน จะต้องมีหน่วยงานอื่น ๆ เข้ามาช่วย Support เราไม่สามารถทำงานหน่วยงานเดียว เราไม่สามารถสร้างข้อมูลอย่างเดียว เราต้องใช้ข้อมูลจากหน่วยงานอื่น ๆ ด้วย นี่ทำให้เกิดและเห็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน แม้ว่าจะเป็นความร่วมมือที่ยังไม่เป็นทางการ แต่พอจะทราบแล้วว่าต่อไปถ้าจะพัฒนาหน่วยงานของตนเองนั้น เราต้องให้หน่วยงานไหนเข้ามา Support”
ถัดมาคือ ‘บุคลากร’ กล่าวคือ เมื่อหน่วยงานเริ่มเกิดการตระหนักรู้แล้วว่าหน่วยงานของเรามีความสำคัญในการขับเคลื่อน การพัฒนาศักยภาพบุคลากรนั้นจึงนับเป็นส่วนสำคัญ เพราะองค์กรต้องมีบุคลากรเพื่อการพัฒนาทั้งกระบวนการทำงานและการเชื่อมต่อระหว่างองค์กรด้วยกัน “สิ่งที่ค้นพบคือ เมื่อบุคลากรได้เข้าร่วมกับโครงการแล้ว จะเริ่มเห็นตัวเอง เห็นงานของตัวเอง เห็นเพื่อนร่วมงาน ฯลฯ ว่าอยู่ตรงไหนใน Enterprise Blueprint ไปถึงการใช้ประโยชน์อย่างไร ข้อมูลตรงไหน ในเบื้องต้นของจุดที่เริ่มมองเห็นนั้น จะเริ่มมีแนวทางแล้วว่าจะไปต่อเป็นอย่างไร จะพัฒนางานตัวเองอย่างไร โครงการนี้จึงตอบโจทย์กับบุคลากรที่กำลังต้องการพัฒนาตัวเอง และคนที่พร้อมมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ การสื่อสาร การพูดคุย การแลกเปลี่ยนปรึกษา เรียกว่า เป็นการค้นหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาและปรับตัวเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล” อาจารย์วสันต์อธิบาย “ส่วนสุดท้ายของบุคลากรคือ การเชื่อมโยงงานของตัวเองกับงานของหน่วยงานภายนอก เมื่อเริ่มเห็นว่าเกิด Diffusion คือ การแพร่กระจายของสิ่งที่คิดว่า เขาทำได้ เขาภูมิใจ และเขารู้แล้วว่า สิ่งที่เขาทำ หรือข้อมูลที่เขาทำนั้นมีประโยชน์กับหน่วยงานอื่น ๆ หน่วยงานอื่น ๆ ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลของเขา จึงเริ่มแพร่กระจายความสำเร็จเล็ก ๆ เหล่านี้ไปสู่หน่วยงานอื่น ๆ และเกิดการเลียนแบบ เกิดการหาแนวทางในการพัฒนาตัวเองต่อไป”
ข้อค้นพบถัดมาคือ ‘ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง’ อธิบายได้ว่า หลังจากเริ่มหาจุดร่วมแล้วว่าเราจะร่วมกับเขาอย่างไร เราจะไปอยู่ตรงไหนของเขาในกระบวนการทำงาน เราจะแชร์ทรัพยากรอะไรได้บ้าง ‘โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ จะทำให้เกิดภาพที่ชัดเจน “เพราะเมื่อเริ่มกล้าที่จะทำ ประเด็นถัดมาคือรู้ว่าใครที่เราจะต้องร่วมงานด้วย ใครที่จะต้องมาช่วยเหลือเรา และเราต้องช่วยเหลือใคร เป็นการมองเห็นตัวเอง พาร์ตเนอร์ ไปจนถึงเรื่องของการใช้ข้อมูล การเชื่อมโยงระบบการทำงานต่าง ๆ เป็นการร้อยคนที่อยู่ในบริบทที่หลากหลายเข้ามาร่วมงานกัน”
ข้อค้นพบสุดท้ายคือ ‘เทคโนโลยี และข้อมูล’ อาจารย์วสันต์สะท้อนประสบการณ์และกล่าวยอมรับกับความจริงที่เกิดขึ้นว่า ‘เทคโนโลยีนำวิสัยทัศน์’ อันนำมาสู่เรียบเรียงความเข้าใจและคลี่คลายประเด็นต้องสงสัยว่า ‘ตกลงเราจะไปด้วยวิสัยทัศน์ หรือเราจะไปด้วยเทคโนโลยี’ โดยฉายความชัดเจนว่าไปด้วยแต่ละอย่างนั้นแตกต่างและเป็นอย่างไร เปรียบเทียบกัน “ถัดมาคือ ข้อมูลและมาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูลในหน่วยงาน ถือเป็นสิ่งที่พบเจอกันได้ทั่วไป อีกส่วนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลคือ ความกังวลเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี หรือกังวลเรื่องการปรับเปลี่ยน เป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่คิดว่าจะทำได้หรือไม่ได้ แน่ใจหรือไม่แน่ใจ ยิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้วยแล้ว มักทำให้คนรู้สึกกังวล แต่เมื่อได้รับการคลี่คลายไปในบางส่วน ก็ทำให้เกิดความรู้สึกกล้ามากขึ้น” อาจารย์วสันต์กล่าว “สุดท้ายคือมีเทคโนโลยีจริง แต่ความไซโลก็ยังมี ทั้งนี้ความไซโลไม่ใช่เรื่องไม่ดี การประเมินด้วยเครื่องมือ DMM แล้วได้ผลว่าไซโลเยอะ จะโด&a