รายงานการประชุมการพัฒนาศักยภาพผู้ประเมินโครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ
ที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2
วันอังคารที่ 21 มกราคม 2563 เวลา 08.30 น. - 16.30 น.
ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 2
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
กล่าวเปิดการประชุม โดย รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์
การประชุมการพัฒนาศักยภาพผู้ประเมินในครั้งนี้ เป็นการประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประเมินให้สามารถเรียนรู้และใช้งานโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภออนไลน์ได้ ทั้งในอนาคตอาจจะมีการวางแผนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประเมินในด้านอื่นๆ อาจจะเป็นในรูปแบบของแต่ละจังหวัด
สอนการใช้งานโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์ โดย นางจินตนา คำลำปาง และทีมงาน
โปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์ แบ่งผู้ใช้งานออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ผู้ถูกประเมิน และผู้ประเมิน โดยการประชุมในวันนี้จะเน้นสอนไปทางด้านของผู้ประเมิน
ผู้ประเมิน แบ่งการใช้งานออกเป็น 3 สิทธิ์
1.ประธาน มีสิทธิ์ในการประเมินระบบสุขภาพอำเภอ ยืนยันการส่งข้อมูล และสรุปผลแบบประเมิน
2.เลขานุการ มีมีสิทธิ์ในการประเมินระบบสุขภาพอำเภอ และดูแบบสรุปรายงาน
3.กรรมการ มีสิทธิ์ในการประเมินระบบสุขภาพอำเภอ
ผู้ประเมินสามารถเข้าใช้งานโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์ โดยเข้าไปที่ www.desiredthaidhs.com หลังจากนั้นกรอก USER และ PASSWORD ของตนเองที่ได้รับจากโครงการ
เพื่อเข้าใช้งาน ข้อมูลหน้าเวปไซต์จะแสดงชื่อผู้ประเมิน สิทธิ์การใช้งาน จังหวัดและอำเภอที่ผู้ประเมินต้องการประเมิน โดยผู้ประเมินสามารถดูข้อมูลของผู้ที่ถูกประเมินได้ ดังนี้
1.ส่วนที่หนึ่งข้อมูลพื้นฐาน
2.ส่วนที่สองเอกสารที่จะต้องจัดเตรียมเพื่อพิจารณาระหว่างการเยี่ยมประเมิน
3.การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ
ข้อมูลดังกล่าวผู้ประเมินสามารถศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินได้ แต่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลของผู้ถูกประเมินได้ หลังจากนั้นผู้ประเมินจะเข้าสู่การประเมิน โดยแบบประเมินระบบสุขภาพอำเภอ
แบ่งออกเป็น 7 หมวดตาม Six Building Blocks Plus One และมีระดับคะแนน (1-5 คะแนน) พร้อมเกณฑ์การประเมิน หากผู้ประเมินต้องการใช้ข้ออธิบายเพิ่มเติมสามารถคลิกไปที่คำว่า โปรดอธิบาย ซึ่งโปรแกรม
จะแสดงหน้าต่างมา 4 หัวข้อคือ
1) ข้อค้นพบ
2) จุดแข็ง
3) ปัญหาและอุปสรรค
4) ข้อเสนอแนะ
เมื่อผู้ประเมินกรอกคะแนนและข้อมูลครบถ้วนแล้ว ให้กดบันทึกข้อมูลโปรแกรมจะนำข้อมูลทั้งหมด
ไปประมวลผลเพื่อส่งออกรายงาน
แบบสรุปรายงานของโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์ ผู้ประเมินสามารถดูข้อมูลได้ทั้งข้อมูลการประเมินตนเองของผู้ถูกประเมิน และข้อมูลการประเมินของผู้ประเมิน โดยโปรแกรมจะแสดงออกในรูปแบบของกราฟ และการส่งออกข้อมูลเป็น Microsoft excel และ Microsoft Word
Workshop ปฏิบัติการใช้งานโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์
โดย นางจินตนา คำลำปาง และทีมงาน
ผู้ประเมินเริ่มเข้าสู่การใช้งานโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์ไปพร้อมๆกัน
โดยผู้ประเมินทุกท่านสามารถเข้าใช้งานโปรแกรมได้ หลังจากนั้นทดสอบการใช้งานโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์ โดยทางโครงการจะมีชุดข้อมูลคะแนนการประเมิน และข้อค้นพบจากพื้นที่
ให้กับผู้ประเมินทุกท่านทดสอบกรอกข้อมูลลงในโปรแกรม โดยเลือกจังหวัดที่ตนเองรับผิดชอบ เมื่อผู้ประเมินกรอกข้อมูลคะแนนการประเมินและข้อค้นพบต่างๆเรียบร้อยแล้ว มีการทดสอบการส่งออกรายงานออกจากโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์ และสามารถนำไฟล์รายงานที่ส่งออกข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป พร้อมทั้งทดสอบการใช้งานโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน
และแท็บเล็ตพบว่าโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์สามารถใช้งานได้ดี
ชี้แจงและหาแนวทางร่วมกันในการลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมประเมินในครั้งที่ 2
การลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมประเมินจะมีทั้งหมด 3 ครั้ง โดยครั้งแรกลงประเมินเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ก่อนให้งบประมาณสนับสนุนระบบสุขภาพอำเภอ หลังจากนี้คือครั้งที่ 2 และ 3 โดยกำหนดระยะเวลาไว้ในช่วงเดือนมีนาคม 2563 และ เดือนพฤษภาคม 2563 การประเมินอีก 2 ครั้งจะเป็นการประเมินเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการรับงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอในครั้งที่ 2 และกระตุ้นให้พื้นที่
มีผลงานที่จะเข้าร่วมและนำเสนอในกิจกรรม DHS Forum
นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ชี้แจงวัตุประสงค์ของการประเมินระบบสุขภาพอำเภอ
ผู้ประเมินทุกท่าน ถือว่าเป็นผู้ร่วมสร้างแนวทางในการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่น่าจะมีประสิทธิภาพ
การสร้างระบบสุขภาพอำเภอที่ดีจะต้องทำให้อำเภอนั้นมีผลงานทางด้านสุขภาพที่ดี โดยที่มีหลักประกันว่าสุขภาพที่ดีนั้น จะสามารถยืนนานต่อเนื่องไม่ว่าจะเปลี่ยนคนทำงานหรือผู้นำ ถ้าสมมุติว่าเราทำให้สุขภาพของอำเภอนั้นดี และมีหลักประกันทางสุขภาพด้วยว่าจะดีอย่างต่อเนื่อง จึงจะถือว่าเป็นระบบสุขภาพอำเภอที่ดี
จุดหมายของการพัฒนา DHS ที่พึงประสงค์
กรอบในการพัฒนา คือ แนวทางของการดำเนินงาน ก่อนหน้านี้แนวทางการดำเนินงานการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอคือ UCCARE การใช้ UCCARE ก็มีสิ่งที่จะต้องปรับปรุงหลายส่วนเนื่องจากเกณฑ์
การประเมินไม่ชัดเจน จนมาสู่การสร้างกรอบขึ้นมาใหม่จากโครงการ DHS ซึ่งครอบคลุมทุกประเด็นได้มากกว่า คือการใช้ Six Building Blocks ที่สร้างขึ้นมาจากต่างประเทศและเพิ่มcommunity health system
มาเพื่อให้เหมาะสมกับระบบสุขภาพอำเภอของประเทศไทย และสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนในความหมายของแต่ละ Block
การสร้างเครื่องมือในการพัฒนา
o การวัดระดับการพัฒนาเปรียบเสมือนกระจก ที่ทำให้เห็นว่าควรพัฒนาส่วนไหนมากน้อยเพียงใด และการแก้ไขส่วนที่ขาดนี่คือ การพัฒนา
o แบบประเมินคือตัวสำคัญในการพัฒนาชี้ให้เห็นส่วนขาดที่ต้องพัฒนา ผลการประเมินไม่ได้จำแนกแยะแยะว่าอำเภอไหนดีหรือไม่ดี แต่ให้อำเภอนั้นรู้ว่าสิ่งไหนที่ขาดเพื่อให้
เติมเต็มส่วนที่ขาด ผลการประเมินให้เอามาใช้ประโยชน์ในการช่วยให้ทราบส่วนที่ขาด
เพื่อเติมเต็มและหาแนวทางการในการพัฒนา
ผู้ใช้เครื่องมือในการพัฒนา คือ ผู้ประเมิน
o การวัด หากมีเครื่องมีที่สามารถชั่ง ตวง วัด ได้ถือว่าค่อนข้างง่าย เช่น การวัดความยาว น้ำหนัก เป็นต้น แต่บางเรื่องไม่มีเครื่องมือในการวัด จึงมีการสร้างเกณฑ์คะแนนขึ้นมา
ให้ชัดเจน ผู้ประเมินจึงจำเป็นจะต้องศึกษาเกณฑ์การประเมิน พร้อมกับการใช้ดุลพินิจ
ที่เข้าใจเรื่องราวและวัตถุประสงค์ของการประเมิน การให้คะแนนจะมากหรือน้อยอยู่ที่
ผู้ประเมินเข้าใจวัตถุประสงค์หรือไม่
วัตถุประสงค์ในสร้างโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์ขึ้นมา เพื่อให้ข้อมูลที่
ผู้ประเมิน ประเมินจากพื้นที่ทั้งคะแนนและข้อค้นพบต่างๆ สามารถเก็บไว้ใช้งานได้และสามารถนำมาดู
หรือศึกษาข้อมูลย้อนหลังได้ พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในส่วนอื่นๆ ได้