รายงานสรุปการประชุมติดตามความก้าวหน้าและตรวจเยี่ยมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ระดับจังหวัด ( อ่าน 246 )


รายงานสรุป
การประชุมติดตามความก้าวหน้าและตรวจเยี่ยมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอระดับจังหวัด (สุโขทัย)
โครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น. 
ณ ห้องประชุมพระราชวิมลเมธี ชั้น 1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย
………………..............………………………………………………………………………………………………………………………………
กล่าวเปิดการประชุมโดย: นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
            เริ่มต้นเวที นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานในที่ประชุม
ได้กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุม พร้อมทั้งได้ชี้แจงถึงความเป็นมาของการก่อเกิดคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือ พชอ. ที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมานั้น โดยทางกระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นความสำคัญด้านการพัฒนา
ในเชิงคุณภาพ ฉะนั้นการก่อเกิด พชอ. เกิดขึ้นมา จึงมีความคาดหวังที่จะให้เป็นเครื่องมือทำให้ระบบสุขภาพ
ที่ได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ มองว่าระบบการบริหารงานในระดับอำเภอถือว่าเป็นระดับที่เหมาะสม
ไม่เล็กและไม่ใหญ่จนเกินไป จึงเป็นที่มาที่สำคัญของการก่อร่างสร้าง พชอ. ขึ้นมา โดยในการขับเคลื่อนงานนั้น ไม่ได้มีการกำหนดประเด็นให้ พชอ. แต่ละที่ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ตามความประสงค์ของแต่ละพื้นที่
แต่ต้องมีการจัดการระบบให้มีความชัดเจน 
            สำหรับในการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยผ่านทางมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นผู้รับทุน ภายใต้แนวคิดการดำเนินงาน 
Six Building Blocks Plus One ถือเป็นการบริหารจัดการที่ทางโครงการมองว่ามีความยืดหยุ่นและสะดวก
ต่อการจัดสรรและบริหารงบประมาณได้คล่องตัว ทั้งนี้ งบประมาณที่สนับสนุนในแต่ละอำเภอ รวม 47 อำเภอ ในเขตสุขภาพที่ 2 ถึงแม้จะน้อยนิดแต่อยากให้นำไปใช้อย่างคุ้มค่า โดยเฉพาะในการสร้างระบบสุขภาพ
ให้เกิดขึ้นจริง


กล่าวต้อนรับและนำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงาน การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอภาพรวม
โดย ดร.นพ.ปองพล วรปาณิ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย 
            จากนั้น ดร.นพ.ปองพล วรปาณิ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย นำเสนอภาพรวมของ
การดำเนินงานจังหวัดสุโขทัย รวมถึงการขับเคลื่อนบทบาท พชอ. แต่ละที่ในการสร้างและพัฒนาระบบสุขภาพ ซึ่งสามารถสรุปผลได้ดังนี้  
การดำเนินงานของ พชอ.
o  มี 28 ประเด็น พบว่า ประเด็นที่ 1 คือ RTI มี 7 อำเภอ LTC มี 3 อำเภอ 
o   ยิ่งมีการปรับเปลี่ยนนายอำเภอ การทำงานเชิงประเด็นยิ่งเพิ่มขึ้น จึงได้มีการเข้าไป
ทำความเข้าใจร่วมกัน  
o  กิจกรรม พชอ. ที่น่าสนใจ
-    กิจกรรมพระเยี่ยมโยม ของ อ.สวรรคโลก
-        Smart life Project ของ อ.ศรีสัชนาลัย
-        อำเภอสะอาด อ.ทุ่งเสลี่ยม
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเสริม
งบประมาณส่วนอื่นๆ อาทิเช่น งบประมาณจากกระทรวง (สป.) งบประมาณจาก สสส. 
ซึ่งนอกเหนือจากงบประมาณโครงการระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ (งบประมาณ 50,000 บาท) ที่แต่ละอำเภอรับไปนั้น ต่างมุ่งเน้นให้นำไปพัฒนากลไก พัฒนาศักยภาพ พชอ. ส่วนงบประมาณจากโครงการนี้
ได้ชี้แจงชัดเจนว่าต้องการให้นำไปพัฒนาระบบ ส่วนบางอำเภอมองว่ามีความต้องการสร้างและพัฒนา Software นั้น ให้เป็นบทบาทหน้าที่ของทางโครงการส่วนกลางที่จะพัฒนาขึ้นมา เพื่อมาสนับสนุนการทำงานของ พชอ. แต่ละอำเภอเอง โดยทางอำเภอไม่ต้องไปลงทุนทำ เนื่องจากว่าการพัฒนา Software นั้น อาจจะต้องใช้งบประมาณสูงควรนำเงินไปใช้พัฒนาระบบให้คุ้มค่า
นอกจากนี้ อยากให้โครงการนี้ถือเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกันกับทุกอำเภอ เพราะถือว่าเป็นเรื่องใหม่
ของทุกพื้นที่รวมถึงต้องทำความเข้าใจ Issue base และ System base ให้ชัดเจน โดยให้นำประเด็นปัญหา
มาเป็นตุ๊กตาในการพัฒนาระบบ 
นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก/ผอ.เขตสุขภาพที่ 2 ร่วมแสดงความคิดเห็น  
ขณะนี้ความก้าวหน้าของแต่ละอำเภอนั้น ได้มีการจัดทำแผนส่งมาบ้างแล้ว และในบางพื้นที่ได้มีการดำเนินงานไปบ้างแล้วพอสมควร เพื่อให้เห็นภาพการดำเนินงานและการบริหารจัดการงบประมาณที่เข้าใจตรงกัน จึงต้องมีการแนะนำและทำความเข้าใจสำหรับพื้นที่ของคนทำงาน จะมีด้วยกัน 2 พื้นที่ ดังนี้
-        ดำเนินการ (Performance Zone) คือ พื้นที่คุ้นชินที่มีส่วนสำคัญในการทำงานอยู่แล้ว
o  กำหนดประเด็นปัญหาหรือความต้องการในพื้นที่
o  พชอ. ดำเนินงานประเด็นปัญหาความต้องการทางสุขภาพในพื้นที่เพื่อให้เกิดผลสำเร็จ
-        ศึกษาและเรียนรู้ (Learning Zone)  
o   พชอ.ควรดำเนินการอย่างไรซึ่งถือเป็นข้อคำนึงอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะเป็นตัวกระตุ้น
ในการสร้างการเรียนรู้ 
o  ผลงานที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของ พชอ. นั้น มีสิ่งใดควรปรับปรุงหรือทำงาน
สำหรับเครื่องมือ Six Building Blocks Plus One อยากให้ทำความเข้าใจเริ่มต้น ในส่วนของระบบอภิบาลที่รวมถึงภาวะผู้นำ (Leadership and Governance) ซึ่งถือเป็นการก่อรูปนโยบายซึ่งมีแนวทางในการจัดการงานบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นจะต้องมี 4 ระบบ ได้แก่ ระบบสุขภาพด้านกำลังคน
ด้านสุขภาพ (Health Workforce) ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Information System) ระบบสุขภาพ
ด้านการเข้าถึงยาและเทคโนโลยีที่จำเป็น (Drugs Vaccine Equipment Technology) และ ระบบสุขภาพด้านกลไกการคลังด้านสุขภาพ (Health financial system) ให้เข้ามามีส่วนสำคัญในการตั้งต้น เพื่อสร้าง
และพัฒนาระบบสุขภาพ ซึ่งนี่คือสาเหตุสำคัญสำหรับแนวทางการใช้งบประมาณ 50,000 บาท ในโครงการฯ ฉะนั้น แนวทางการใช้เงินจึงเน้นไปในเรื่องของการจัดการประชุม เริ่มต้นโดยแกนนำ (Thinker) ส่วนจำนวนครั้งในการประชุมนั้นไม่ได้มีข้อกำหนดไว้ ซึ่งแล้วแต่พื้นที่ในการวางแผนงานเอง ทั้งนี้ควรจัดอย่างน้อย 4 ครั้ง     
นำเสนอผลงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ/อภิปราย/ซักถามและข้อเสนอแนะ โดย นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก และ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 2 และทีมผู้ประเมินจังหวัดสุโขทัย
อำเภอเมือง 
-        ได้มีการจัดทำ work flow ยาเสพติดอำเภอเมืองไว้เป็นที่เรียบร้อย
-        มีการจัดประชุม และมีการจัดทำระบบ (Six Building Blocks Plus One)   
-        ในส่วนการใช้งบประมาณของโครงการ DHS ยังไม่ได้เบิกงบประมาณออกมาใช้
-        ปัญหาคือ การประสานงานและห้วงเวลาที่เหมาะสมที่ทุกฝ่ายจะสามารถมาประชุมวางแผนร่วมกัน เนื่องจากภารกิจ บทบาท งานต่างๆ ที่ทับซ้อนกัน 
-     แนวทางการใช้งบประมาณในเบื้องต้นนั้น ต้องมีการจัดประชุมคณะทำงานก่อนที่จะนำเข้าสู่
การประชุม พชอ. 
-        ข้อเสนอแนะ 
o  เสนอให้ไปจัดการประชุมร่วมกันก่อน โดยเริ่มต้นจากคณะทำงานที่ประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นจากนั้นจึงนำข้อคิดเห็นในการประชุมคณะทำงานเข้าไปนำเสนอในเวทีการประชุมของ พชอ. ซึ่งอาจจะเพิ่มเป็นวาระพิเศษในการประชุมนั้นๆ แล้วนำ
ข้อแลกเปลี่ยนในเวทีพชอ. มาปรับให้ครอบคลุมเป็นที่เรียบร้อย 
o  การจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน
o  การตรวจสอบและค้นหาช่องทางในการจัดสรรงบประมาณจากแหล่งต่างๆ
o  การวิเคราะห์กำลังพลที่อยู่นอกเหนือจาก พชอ. หรือ นอกหน่วยงานด้านสุขภาพเข้ามาเพิ่มเติม
o   การดึงบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนนั้น ต้องมองให้ชัดเจนในเรื่องของการดึงเข้ามา
มีส่วนร่วม หรือ การลงไปพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชน 
o  นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก มีข้อเสนอดังนี้ 
-        ข้อเสนอประเด็นแรกความสำเร็จจะเกิดขึ้นนั้นเนื่องจากนายอำเภอเป็นประธาน พชอ. ถือว่ามีความสำคัญแต่ไม่สำคัญทั้งหมด ทั้งนี้กลุ่มปัจจัยที่มีผลต่อระบบสุขภาพนั้น มีด้วยกัน 3 ส่วน ได้แก่ 
-        บริการสุขภาพ
-        ปัจจัยของปัจเจกบุคคล
-        ปัจจัยสิ่งแวดล้อม
โดยทั้งหมดทั้งมวลนี้ส่วนใหญ่ไปให้ความสำคัญในปัจจัยด้านการบริการสุขภาพ กำลังคนจึงไปมองที่ภาคีส่วนสุขภาพมากจนเกินไป ทั้งนี้อยากให้มองกำลังคนในอีก 2 ปัจจัย ด้วยเช่นกัน เพื่อที่จะเปิดกว้างให้ภาคีด้านอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น
-        ประเด็นที่สอง คือ อยากให้มีการเรียงลำดับการก่อเกิดของระบบใหม่ และมีการคิด/วิเคราะห์ตามในแต่ละระบบให้ชัดเจน นอกจากนี้ควรมีการออกแบบ (Design)
o  ด้านการจัดทำแผนผังระบบ ถือว่ามีความเข้าใจในระดับหนึ่งแล้วแต่การเชื่อมโยงในส่วนของ Out put และ Out come ยังไม่ชัดเจนและถูกต้อง 


อำเภอกงไกรลาศ
-     มีการจัดประชุม พชอ.ทุกเดือนและให้คณะอนุกรรมการรายประเด็นนำเสนอความก้าวหน้า
ด้วยเช่นกันซึ่ง ณ ปัจจุบัน มีการประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง
-        ประเด็นขับเคลื่อนคือ RTI และ NCD โดยมีเพิ่มเข้ามาอีก 3 ประเด็น คือ ไข้เลือดออก การจัดการขยะในชุมชน และ การดูแลผู้ด้อยโอกาส 
-        บทสรุป
o  ประชาชนป้องกัน/ลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ลดอัตราเสียชีวิตและความพิการน้อยกว่า 16 ต่อแสนประชากร
o   นำร่างข้อกำหนดจากการประชุมมารับฟังความคิดเห็น มาวิเคราะห์และสรุปประเด็น
พร้อมทั้งมีการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพ 
o   มีการประชุมคณะทำงานทีมThinkerเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานโดยในวันที่ 
29 กรกฎาคมนี้ จะนำเข้าในที่ประชุม 
o  มีการประเมินตามหลัก UCCARE ได้แก่ 
-        การทำงานเป็นทีม (Unity Team)
-        การให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายและประชาชน (Customer Focus)
-        การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคี (Community participation)
-        การชื่นชมและให้คุณค่า (Appreciation)
-        การแบ่งปันทรัพยากรและการพัฒนาบุคลากร (Resource sharing and human development)
-        การดูแลผู้ป่วยและประชาชน (Essential care)
-        ข้อเสนอแนะ
o  ภาพรวมในการจัดทำ Work flow ยังไม่ชัดเจน 
o  แต่ละอำเภอตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนกรณีการทำ work flow ก่อนที่จะนำไปเสนอต่อนายอำเภอและคณะกรรมการ พชอ.นั้น ต้องมีการนำมาปรึกษาหารือร่วมกันก่อน ในส่วนของชุดคณะทำงาน หรือ ขอปรึกษากับทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดก่อน 
อำเภอสวรรคโลก
-        ถือเป็นอำเภอนำร่อง พชอ. ของจังหวัดสุโขทัย แต่เท่าที่ผ่านมานั้นแนวทางการดำเนินงานส่วนใหญ่เน้นในเชิงประเด็นมากกว่า
-        ได้มีการทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยเฉพาะการวิเคราะห์แกนนำกรณีที่ไม่มีบุคคลเหล่านี้แล้ว การดำเนินงานต่อไปจะเป็นอย่างไรจึงเป็นที่มาของการนำ Six Building Blocks Plus One เข้ามาใช้มากขึ้น
-        ประเด็นที่ขับเคลื่อนอยู่ 2 ประเด็น คือ RTI และ NCD 
-     มีการจัดประชุมทีม 6 ครั้ง โดยทำไปแล้ว 2 ครั้ง เป็นการประชุมเชิงนโยบายและยังเหลืออีก 
5 กิจกรรม ซึ่งมีแนวทางที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จสิ้นสรุปเป็น Work Flow ภายใน 31 กรกฎาคม 2562 นี้  
-        ข้อเสนอแนะ
o  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย กำหนดให้แต่ละอำเภอนำ work flow เข้ามาประชุมร่วมกันในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 เพื่อปรับให้เรียบร้อย 


อำเภอศรีสำโรง
-     มีการประชุมและเกิดข้อกำหนดร่วมกันว่า “คนศรีสำโรงไม่ทอดทิ้งกันช่วยเหลือดูแลช่วยซึ่งกัน
และกัน” รวมถึงการมอบหมายบทบาทภารกิจของแต่ละฝ่าย
-     แนวทางการประชุมนั้นมีการสรุปประเด็นปัญหาทางด้านสุขภาพนำเสนอต่อที่ประชุมรวมถึง
มีการชี้แจงปัญหาสุขภาพในปีที่ผ่านมา
-        ได้ประเด็นมาทั้งสิ้น 8 ประเด็น พร้อมทั้งนายอำเภอมอบหมายแต่ละภาคส่วนรับผิดชอบรายประเด็น โดยมีแผนงานรองรับส่งกลับมาให้ปลัดอาวุโสทำการรวบรวม
-     ประเด็นอุบัติเหตุมีการคืนข้อมูลกลับมาทุกเดือน นอกจากนี้นายอำเภอได้กำชับมาตรการในเรื่อง
การบังคับใช้กฎหมายซึ่งถือเป็นบทบาทภารกิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 
-        ข้อเสนอแนะ
o  การระดมทุนในส่วนภาคีที่เกี่ยวข้อง หรือ ผู้สนใจเข้ามาร่วมจะถือเป็นเรื่องที่ดี
o  การจัดการข้อมูลที่ชัดเจน ทันสมัย จะช่วยทำให้งานมีคุณภาพ  
 
อำเภอศรีนคร
-        คัดเลือกประเด็น คือ RTI และสารเคมีตกค้าง โดยมีการประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง 
-        ประเด็น RTI มีเป้าประสงค์ 2 ด้าน คือ 
o  เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานและการประเมินการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนระดับอำเภอ D-RTI
o  เพื่อขับเคลื่อนกลไกในการสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน D-RTI
-        ประเด็นสารเคมีตกค้าง 4 ด้าน ได้แก่
o  สร้างชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรปลอดสารพิษ
o  ขับเคลื่อนการดำเนินงานคลินิกเกษตรกรและการดำเนินงานตลาดสีเขียว
o  ตรวจสารปนเปื้อนในอาหารตลาดนัด ร้านแผงลอย ร้านขายของชำ
o  อบรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้สามารถเลือกซื้ออาหารที่สะอาดปลอดสารพิษ
-        ข้อเสนอแนะ
o  จากการที่ นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ ได้ทำขั้นตอนระบบตัวอย่างที่ใช้ประเด็น “อุบัติเหตุ” มาเป็นตัวตั้งต้นในการจัดทำระบบนั้น ไม่ได้มีข้อบังคับให้พื้นที่ต้องยึดทำตามแต่อยากให้ขึ้นอยู่ที่ความตั้งใจของแต่ละพื้นที่เป็นหลัก
 
อำเภอทุ่งเสลี่ยม
-        มีกรอบวิสัยทัศน์ ได้แก่ “วิสัยทัศน์ทุ่งเสลี่ยมเมืองสะอาด อากาศดี วัฒนธรรมประเพณีหลากหลาย มากมายคนใจดี และมีความปลอดภัย” 
-        ดำเนินการขับเคลื่อน 2 ประเด็น คือ อำเภอสะอาด และ สุขภาพผู้สูงอายุ
o  อำเภอสะอาดมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้ 
-        ปลอดถังขยะ
-        ปลอดมลภาวะ
-        ปลอดภัย
-        จากการดำเนินงานพบว่ามีปริมาณขยะลดลง และ มีนวัตกรรมขยะอินทรีย์เพิ่มขึ้น
o  สุขภาพผู้สูงอายุ
-        ดูแลสวัสดิการ
-        การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
-        การดำเนินงานอื่นๆ ตามบริบทพื้นที่ 
-        กระบวนการดำเนินงานนั้น Service Delivery System จะดำเนินงานในช่วงวันที่ 22-26 กรกฎาคม 2562 ส่วนระบบที่เหลือจะดำเนินการในช่วงวันที่ 1 - 10 สิงหาคม 2562 
-        ข้อเสนอแนะ
o  อยากให้ปรับแผนงานให้มีการกระชับเวลาเข้ามาอาจจะมีการจัดประชุมภายใน 1 สัปดาห์ ประมาณ 2 ครั้ง
o  เสนอให้มีการหารือร่วมกันครบทุก block ไม่ควรแยกคุยเป็นราย block
o  ข้อเสนอต่อจังหวัดให้มีการจัดการประชุม หรือ อบรมทำความเข้าใจหลักการ Six Building Blocks Plus One เพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ทางนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุโขทัยมีความเห็นเดียวกัน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ขาดองค์ความรู้ในการคิดเชิงระบบ  
 
อำเภอบ้านด่านลานหอย
-        แนวคิด คือ คนเมืองหน้าด่าน ไม่ทอดทิ้งกัน
-        สรุปประเด็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 3 ประเด็น คือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การป้องกันอุบัติเหตุการจราจร และ การดูแลผู้ด้อยโอกาส
-        อยากให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งกายใจ รวมถึงสามารถพัฒนา ช่วยเหลือ และดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพต่อไป
-        แผน Work flow จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้
-        ข้อเสนอแนะ
o  อยากได้ภาพรวมระบบสุขภาพของแต่ละอำเภอโดยสามารถหยิบยกประเด็นมาเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบ
 
อำเภอศรีสัชนาลัย
-        มีการจัดประชุมแต่งตั้งและกำหนดประเด็นปัญหาโดยได้ข้อมูลเบื้องต้นมาจากการลงพื้นที่โครงการไทยนิยมยั่งยืนร่วมกับข้อมูลจากโรงพยาบาล
-        สรุปประเด็นได้ 5 ประเด็น 
-     ขณะนี้ได้ดำเนินการตามกรอบงบประมาณโครงการ DHS มีการประชุมไปแล้ว 4 ครั้ง ในส่วนของ
กลุ่ม Thinker 
-        ปัจจัยความสำเร็จ
o  ผู้นำมีความมุ่งมั่น
o  แก้ปัญหาตามความต้องการ
o  ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม
o  มีการนำเรื่อง พชอ. เข้าไปมีส่วนร่วม ในเวทีประชุมหัวหน้าส่วนประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน
o  ความเชื่อที่ว่าภายใต้ระบบสุขภาพเดียวกันของคนอำเภอศรีสัชนาลัยเราสามารถร่วมกันดำเนินงานด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งให้คนศรีสัชนาลัย มีสุขภาพดีตลอดไป
-        ข้อเสนอแนะ
o  ต้องมองภาพให้เห็นเป็นภาพเดียวกัน มีความเข้าใจในการพัฒนาระบบที่ชัดเจน 
o  ทั้งนี้ในแต่ละ Block นั้น จะมีความสำคัญหรือเป็นตัวหลักต่างกันไปตามประเด็นที่ขับเคลื่อน ซึ่งต้องมีการคิดในเชิงระบบมากขึ้น 
o  กรณีที่วิทยาลัยพยาบาลจะมาอบรมให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพ (5 คนต่ออำเภอ) เสนอให้นำ system approach มาเป็นหัวใจสำคัญในการอบรมด้วยเช่นกัน โดยกำหนดช่วงเวลา
ที่จะมีการอบรมในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้ 
หลังจากในช่วงเช้าเป็นการรายงานผล 8 อำเภอ บางอำเภอมีการรายงานผลการดำเนินงานตามกรอบงบประมาณและบางอำเภอมีที่อยู่ในการวางแผนงานที่จะดำเนินการต่อไป ส่วนช่วงบ่ายนั้นเป็นการลงพื้นที่
ไปร่วมรับฟังผลการดำเนินงานของอำเภอคีรีมาศ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลคีรีมาศ 
อำเภอคีรีมาศ
            นายโอฬาร ธณสัญชัย นายอำเภอคีรีมาศ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานพชอ.
คีรีมาศ ซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตถือเป็นเรื่องสำคัญทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเราต่างให้ความสำคัญ 
และหน่วยงานต่างๆ ทุกภาคีต้องเข้ามามีส่วนร่วมและให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน แนวคิดการขับเคลื่อนประเด็น คือ นำจุดแข็งมาดำเนินงานต่อและการนำจุดอ่อนมาพัฒนาให้ดีขึ้น
1.     ส่งเสริมการท่องเที่ยว
2.     การดูแลผู้สูงอายุครบวงจร
3.     ความปลอดภัยทางถนน
4.     การคุ้มครองผู้บริโภค
5.     การแปรรูผลิตภัณฑ์สินค้าการเกษตร
6.     การส่งเสริมความเป็นเลิศด้านการกีฬา
7.     วัดประชารัฐสร้างสุข


ผลการดำเนินงาน
-     เริ่มต้นด้วยการทำ SWOT ประเด็นสถานการณ์ของอำเภอคีรีมาศ ทำให้ได้มาซึ่งประเด็น
การขับเคลื่อน 7 ประเด็น ดังต่อไปนี้
ประเด็น
1.     การส่งเสริมการท่องเที่ยว 
2.     การดูแลผู้สูงอายุครบวงจร
3.     ด้านความปลอดภัยทางถนน 
4.     การคุ้มครองผู้บริโภคมีการดำเนินงานด้านการส่งเสริมปลอดการใช้โฟมและการไม่บริโภคยาชุด
5.     การแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตร
6.     การกีฬาซึ่งถือว่ามีการแข่งขันกีฬาที่เป็นระบบครอบคลุมทั้ง 5 กลุ่มวัย 
7.     วัดประชารัฐสร้างสุข ได้แก่ กิจกรรมพระเยี่ยมโยม
ผลการดำเนินงานระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์
-        จัดประชุมไปแล้ว 4 ครั้ง โดยเฉพาะกลุ่ม Thinker 
-        ได้ work flow ประมาณ 30 กรกฎาคม 2562
-        ปัญหาอุปสรรค 
o  ช่วงระยะเวลารับงบประมาณในการดำเนินงานไม่เหมาะสมกับระยะเวลาดำเนินงาน
o  ข้อจำกัดในการเบิกจ่าย
o  ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องบางส่วนยังมีความเข้าใจไม่ชัดเจน
-        ข้อแลกเปลี่ยนและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
o   บทบาทพระสงฆ์จะเน้นหนักในงานเชิงนามธรรมซึ่งงานเชิงรูปธรรมนั้น เป็นบทบาท
ของฆราวาสโดยเฉพาะ พชอ. โดยงานเชิงรุกที่เข้ามาใหม่ในช่วงนี้คือโครงการพระ อสว.(พระคิลานุปัฏฐาก) ที่ได้มีการให้พระเข้าไปดูแลสุขภาพพระสงฆ์และการออกเยี่ยมผู้ป่วย
ในชุมชน ส่วนปัญหาที่พระและวัดพบ คือ ปัญหาขยะภายในวัดฉะนั้นจึงมีแนวทาง
ในการสื่อสารกับชุมชน โดยการรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติกโดยเฉพาะเวลาออกบิณฑบาตจะใช้รถเข็นออกไปด้วยเพื่อเป็นการลดการใช้ถุงพลาสติก นอกจากนี้พระสงฆ์เองมีแนวทาง
ในการคัดแยกขยะภายในวัดด้วยเช่นกัน
o  ขณะมีการขับเคลื่อนธรรมนูญพระสงฆ์ในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งมีแนวคิดอยู่ 3 ประการคือ
-        อยากให้พระสงฆ์ได้ดูแลสุขภาพตนเอง
-        อยากให้ญาติโยมตระหนักต่อการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่ไม่เป็นอันตรายหรือส่งผลกระทบด้านสุขภาพ
-        ส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพแก่ชุมชน   
o  แนวทางในการขับเคลื่อนนำร่อง 5,000 วัดทั่วประเทศโดยมีเป้าหมายดังนี้
-        ต้องมีฐานข้อมูลพระสงฆ์ทั่วประเทศ
-        วัดต้องเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพ
-        พัฒนาและขยายพระคิรานุปัฏฐากที่เป็นพระอาสาสมัครดูแลสุขภาพพระสงฆ์
-        พระสงฆ์ต้องได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ทั่วประเทศ
-        ต้องมีกิจกรรมที่วัดทำร่วมกับชุมชนอย่างน้อย 1 กิจกรรม
 

o  ต้องทบทวนและทำความเข้าใจระบบเพราะจะทำให้เกิดความยั่งยืน แน่นอนว่าอาจจะต้องมีการนำกิจกรรมเชิงประเด็นมาเป็นแนวทางตั้งต้น ทั้งนี้ Six Building Blocks Plus One  
จะเป็นเสมือนเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้ได้ในทุกประเด็น แม้ว่าในวันข้างหน้าคณะกรรมการ พชอ. มีการเปลี่ยนแปลงนายอำเภอเก่าย้ายไปคนใหม่ย้ายเข้ามา ระบบที่เราสร้างไว้ 
จะสามารถดำเนินการได้อย่างไม่มีข้อติดขัดกล่าวโดยสรุปคือ ระบบไม่ได้ยึดโยงอยู่เฉพาะบุคคล หากแต่เป็นของทุกคน
o  ทั้งนี้ในเรื่องของเวลาการดำเนินโครงการยังพอมีเวลาที่พื้นที่จะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จทันได้ซึ่งต้องขอความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มาช่วยกัน
o  ในส่วนของ พชอ. มีความพยายามมอบหมายให้ทางฝั่งเลขานุการ พชอ. เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างระบบ แต่กระนั้นคณะกรรมการ พชอ. ทุกคนพร้อมที่จะเรียนรู้ไปพร้อมกัน
o   งบประมาณกำลังทำเรื่องขอขยายระยะเวลาในการดำเนินงานไปทาง สสส. เนื่องมาจาก
ทราบถึงปัญหาในพื้นที่ หัวใจสำคัญของการใช้งบประมาณ 50,000 บาทนั้น อยากให้นำไปใช้เป็นโอกาสในการทำความเข้าใจในเรื่อง Six Building Blocks Plus One ส่วนในเรื่องของการจัดทำรายงานนั้นขอให้เป็นการนำเสนอผลลัพธ์ที่ได้ ผ่าน work flow เพื่อให้เห็นภาพแนวทางของแต่ละพื้นที่
o  สนับสนุนให้ทุกอำเภอได้ไปศึกษาคู่มือแบบประเมินที่ทางโครงการ DHS แจกให้แต่ละพื้นที่ จะทำให้เกิดความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้จากการที่ทางโครงการได้ทำการลงพื้นที่ประเมินผลความเข้าใจร่วมกันในปีที่ผ่านมาจนได้เนื้อหาสาระจัดทำเป็นคู่มือออกมาให้ จึงอยากให้แต่ละอำเภอได้ทบทวน 
o   จากข้อเสนอแนะในเรื่องของการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาศักยภาพ 
และคณะอนุกรรมการประเมินระบบถือเป็นเรื่องที่ดีและน่าสนใจ เพราะจะสามารถเข้ามา
มีบทบาทในการทำให้การทำงานของ พชอ. มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

 

รายงานสรุป
การประชุมติดตามความก้าวหน้าและตรวจเยี่ยมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ระดับจังหวัด (เพชรบูรณ์)
โครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2  วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2562 เวลา 8.30 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมสุขฤทัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์
________________________________________________________________________________
กล่าวต้อนรับ
นายแพทย์ชัยวัฒน์ ทองไหม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวต้อนรับทีมติดตามความก้าวหน้าและตรวจเยี่ยมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอระดับจังหวัด (จังหวัดเพชรบูรณ์) ซึ่งนำทีมโดยนายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการร่วม 
โครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2
เข้าสู่การประชุม
นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ ได้กล่าวเปิดการประชุมและกล่าวนำความเป็นมาของโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ ดังนี้
การสร้างสุขภาพของประชาชนไม่สามารถทำได้โดยใครคนใดคนหนึ่ง ต้องอาศัยความร่วมมือ
จากหลายภาคส่วนทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย เช่น โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
โดยแต่เดิมใช้หลัก UCARE เพื่อสร้างความเป็นหนึ่งด้านการบริการให้กับประชาชนแต่เมื่อพัฒนาไปได้ระยะหนึ่งพบว่า การร่วมมือกันระหว่างโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนั้น อาจจะยังไม่เพียงพอควรมีภาคส่วนอื่นมาร่วมสร้างสุขภาพของประชาชนร่วมกันด้วย เช่น ภาคราชการ ภาคประชาชน และชุมชน จากนั้นในระยะต่อมามีการพัฒนาจากUCARE มาเป็น UCCARE โดยเพิ่มการบริการด้านสุขภาพให้เสมือนกับผู้รับบริการนั้นเป็นลูกค้าต้องศึกษาความต้องการของผู้รับบริการและใส่ใจในการให้บริการพบว่า มีพื้นที่
ที่พัฒนาโดยการใช้หลักการ UCCARE แล้วประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีหลายแห่ง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จนั้น เป็นพื้นที่ที่ผู้รับผิดชอบมีความรู้ความสามารถและเอาใจใส่ แต่เมื่อใดที่ผู้รับผิดชอบนั้น
ถูกโยกย้ายถ่ายโอนความสำเร็จที่ผ่านมาก็ลดน้อยถอยลงตามความสำเร็จนั้น จึงขึ้นอยู่กับตัวบุคคลหากพื้นที่ใดที่มีผู้รับผิดชอบที่มีวิสัยทัศน์ก็สามารถพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นได้ จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนารูปแบบ
การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ว่าหากมีการวางระบบการพัฒนาที่ดีไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดมาเป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนานั้น ก็จะสามารถประสบผลได้อย่างยั่งยืน
การพัฒนาระบบ หมายถึง การออกแบบวิธีการทำงานต่าง ๆ เช่น การติดต่อกันระหว่างผู้คน 
การสร้างวิธีคิด วิธีที่จะเชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดยมีรูปแบบที่ชัดเจน โดยโครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ได้นำแนวคิดจาก World Health Organization (WHO) ในเรื่องของการสร้างระบบสุขภาพที่เรียกว่า Six Building Blocks 
มาใช้ในการพัฒนาโดยมีรายละเอียดดังนี้
1.      Service Delivery หมายถึง ต้องมีความชัดเจนในการกำหนดการบริการและกิจกรรมทางสุขภาพให้ชัดเจนซึ่งแต่ละพื้นที่ควรกำหนดว่าควรมีบริการสุขภาพ และระบบการทำงานด้านสุขภาพอะไรบ้าง
2.    Health Workforce หมายถึง กำลังคนด้านสุขภาพ ควรเป็นบุคคลใดมีจำนวนเพียงพอหรือไม่ 
มีสมรรถนะในการทำงานเป็นอย่างไร และมีการส่งเสริมบุคลากรในด้านต่าง ๆ อย่างไร 
3.    Information System หมายถึง ระบบข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมไว้อย่างสมบูรณ์
เพื่อการวางแผนการพัฒนาระบบสุขภาพและการดำเนินงาน เช่น การเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กับผู้รับบริการเพื่อนำมาใช้ในการดูแล รักษา และส่งเสริมสุขภาพของผู้รับบริการในครั้งต่อไป
4.      Financial System หมายถึง ระบบการบริหารการเงินการคลัง
5.      Drug Vaccine and Health Technology หมายถึง การบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์
6.      Leadership and Governance หมายถึง การอภิบาลระบบย่อยต่าง ๆ ให้ขับเคลื่อนไปพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
จากนั้นเมื่อศึกษาไประยะหนึ่งแล้วพบว่า การจะสร้างระบบสุขภาพใดก็ตามจำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนซึ่งเรียกว่า Community Health System หมายถึง ระบบสุขภาพชุมชน 
จึงเกิดเป็นแนวคิดที่เรียกว่า Six Building Blocks Plus One ซึ่งประกอบด้วย 3  ส่วนดังภาพ คือ
1. ภาวะผู้นำและการอภิบาลระบบ (Leadership and Governance) ร่วมกับระบบสุขภาพชุมชน (Community Health System) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการและการสร้างความร่วมมือระหว่าง
สองส่วนมีหน้าที่กำหนดแนวทาง นโยบาย หรือประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ
2.  งานบริการสุขภาพ (Service Delivery) เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่าพื้นที่นั้นจะให้บริการสุขภาพอะไรบ้าง จะมีการดำเนินงานเพื่อจัดการสุขภาพอะไรบ้าง เช่น อาจมีการคัดกรอง ฉีดวัคซีน เยี่ยมบ้าน 
หรือการให้บริการคลินิกต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งการให้บริการก็จะขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นส่วนขาดในพื้นที่นั้นว่ามีปัญหาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บอะไรที่ต้องดำเนินการ
3. ในส่วนนี้จะรวม 4 ระบบย่อยที่สำคัญ คือ กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) 
ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Information System) การเข้าถึงยาและเทคโนโลยีที่จำเป็น (Drugs Vaccine Equipment Technology) และกลไกการคลังด้านสุขภาพ (Health Financial System) ในส่วนนี้เป็นส่วนที่ต้องดำเนินการผ่านงานบริการสุขภาพ (Service Delivery) ซึ่งงานบริการสุขภาพจะเดินไปได้ด้วยดีก็ต่อเมื่อ
มีกำลังคนที่เหมาะสม ระบบสารสนเทศที่เหมาะสม ยา วัคซีน อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม และระบบการเงินที่มีคุณภาพ
นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ ได้อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องสุขภาพและคุณภาพชีวิตซึ่งมีความใกล้เคียงกันมาก สุขภาพเรามี 4 มิติ คือ เรื่องความสมบูรณ์ทางกาย ทางใจ ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ เพราะฉะนั้นคำว่าสุขภาพถ้าเราขยายไปตามนิยามใหม่ คือ ความสุขสมบูรณ์ของ 4 ด้านนี้ แทบจะกล่าวได้เลยว่าสุขภาพและคุณภาพชีวิตก็เกือบจะเป็นเรื่องเดียวกันจากการตรวจเยี่ยมติดตามจังหวัดที่ผ่านมา พบว่า บางพื้นที่นำเสนอว่าทางอำเภอได้หารือกันแล้ว ว่าจะไม่มุ่งไปที่ประเด็นที่เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ แต่มุ่งไปที่ปัญหาความยากจน กลายเป็นว่าพื้นที่นั้นมุ่งไปที่การพัฒนาสินค้า OTO


... ... ... ... ... ... ...