รายงานสรุปการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ครั้งที่ 1/2563
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม CC2 - 414 ชั้น 4
อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 พระชนมพรรษา 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.1 เรื่องที่ประธานที่ประชุมแจ้งให้ทราบ (นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์)
หลังจากที่มีการดำเนินโครงการมาพอสมควรและใกล้ปิดโครงการซึ่งการประชุมในวันนี้
ถือเป็นการมาร่วมแลกเปลี่ยนผลที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่เป็นประธานนำการประชุมในวันนี้ ได้กล่าวขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการและได้เปิดโอกาสให้ผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมของโครงการได้นำเสนอผลการดำเนินงาน
พร้อมทั้งเปิดการประชุมให้ทุกคนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการต่อไป
1.2 หัวหน้าโครงการฯ แจ้งให้ที่ประชุมทราบ (รองศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์)
การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการซึ่งต้องขอความคิดเห็นและคำแนะนำ
ที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการเพื่อนำไปปรับปรุงและสรุปรวบรวมต่อไป
1.3 รายงานการประชุมพัฒนาศักยภาพผู้ประเมินในการใช้งานโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์ ในวันอังคารที่ 21 มกราคม 2563 เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สรุปเรื่อง การประชุมการพัฒนาศักยภาพผู้ประเมินในครั้งนี้ เป็นการจัดอบรมให้กับผู้ประเมินระบบสุขภาพอำเภอทั้งหมด 5 จังหวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประเมินมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้งานโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์ได้ โดยมีการสอน และWorkshop ปฏิบัติการใช้งานโปรแกรม
การประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์ ช่วงบ่ายเป็นการชี้แจงวัตุประสงค์ของการประเมินระบบสุขภาพอำเภอ โดย นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก การจัดประชุมครั้งนี้ มีผู้ประเมินระบบสุขภาพอำเภอเข้าร่วมทั้งหมดจำนวน 17 คน จากทั้งหมด 5 จังหวัด
พบว่า ผู้ประเมินทั้งหมดสามารถใช้งานโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
มีการลงข้อมูลจริงของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งได้ทดลองกรอกข้อมูลลงจริง ๆ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ข้อค้นพบ จุดแข็ง ปัญหา และข้อเสนอแนะ นอกจากนี้ได้มีการมอบหมายให้ทีมประเมินได้กลับไปเป็นผู้ฝึกสอนให้กับสมาชิก
ในพื้นที่ต่อไป
ข้อคิดเห็นในที่ประชุม
- รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ เสริมว่า สำหรับโปรแกรมนี้ ถือเป็นโปรแกรมใหม่ที่ทางโครงการ
ได้ออกแบบขึ้นมา ฉะนั้นจำเป็นจะต้องมีการอบรมอย่างต่อเนื่อง ซ้ำๆ หลายๆ รอบ เพื่อความเชี่ยวชาญและชำนาญในการใช้เครื่องมือ ทั้งนี้ปัญหาพบว่าทีมประเมินมีจำกัดและส่วนใหญ่
เป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ โดยในช่วงแรกของการประเมินนั้น จะใช้การลงพื้นที่ไปสอบถามและกรอกข้อมูลในกระดาษ แต่ในรอบถัดไปจะเน้นให้ใช้เครื่องมือ (โปรแกรม) เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
- นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ แนะนำว่าควรมีการกำหนดมาตรฐานในการประเมินไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะการให้คะแนน จำเป็นจะต้องพิจารณารอบด้านให้มีความเหมาะสมและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้ ให้มีความเข้าใจเป็นสำคัญว่าการประเมินผลเพื่อการพัฒนาไม่ใช่การเข้าไปจับผิด
- ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เสริมว่า
จากประสบการณ์การเป็นทีมประเมิน CHIA มามองว่าการประเมินผล ควรมุ่งเน้นในการประเมิน
แบบเสริมพลังมองเห็นคุณค่ากันและกัน ส่วนไหนที่เป็นจุดอ่อนหรือปัญหาควรมีการชี้แนะเพื่อให้เกิดแนวทางในการแก้ไขเพื่อพัฒนาให้เป็นจุดแข็งและโอกาสต่อไป
- นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ กล่าวเสริมว่า คงเป็นการทำไปและร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน เพราะโครงการนี้ถือเป็นโครงการนำร่องพื้นที่แรกของประเทศ ถ้าทำไปแล้วเกิดผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจจะสามารถเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่นๆ ได้มาศึกษาเรียนรู้ต่อไปได้
1.4 รายงานการอบรมเชิงปฏิบัติการการสนับสนุนกลไกการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ในวันอังคารที่ 21 มกราคม 2563 เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีสัชนาลัย
สรุปเรื่อง การอบรมเชิงปฏิบัติการการสนับสนุนกลไกการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เป็นการจัดอบรมเพื่อสนับสนุนกลไกการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอศรีสัชนาลัย โดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพชุมชน ประเด็นการผลิตอาหารปลอดภัยในการอบรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 42 คน และมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการบูรณาการที่เกิดจาก
การระดมความคิด การจัดแผนงาน และโครงการที่มองเป้าหมายร่วมกันของคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ประเด็นการผลิตอาหารปลอดภัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยวิทยากรจากคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เขต 2 ร่วมด้วย ดังนี้
1. ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนโยบายสาธารณะ รัฐศาสตร์ หรือ นิติศาสตร์
2. นางกัญญาวีร์ ฟักทอง ผู้แทนกลุ่ม เครือข่ายองค์กรด้านเด็กและเยาวชน
3. ผศ.ดร. พนิดา จงสุขสมสกุล คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร
สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการการสนับสนุนกลไกการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) โดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน ประเด็นการผลิตอาหารปลอดภัย วันอังคารที่ 21 มกราคม 2563 ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดย ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.นเรศวร
การดำเนินการโครงการด้านอาหารปลอดภัยที่ผ่านมาน่าจะประเมินในภาพกว้างได้ว่า ยังขาดประสิทธิภาพที่ดี ถึงแม้ว่าจะมีบางพื้นที่ที่สามารถนำไปสู่การจัดระบบของห่วงโซ่อุปสงค์และอุปทานที่ดี
และเกษตรกรบางส่วนได้ปรับเปลี่ยนการผลิตตามหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว
อย่างไรก็ตามเกษตรกรและพื้นที่เกษตรกรรมที่ประสบความสำเร็จนั้นยังมีอยู่จำกัด ทั้งนี้ สามารถวิเคราะห์ได้ว่าการดำเนินงานของภาครัฐ ทั้งระดับกระทรวง กรม ศูนย์หรือเขต จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ตลอดจนภาคเอกชนยังขาดการบูณาการที่แท้จริง กล่าวคือ การบูรณาการที่เกิดจากการระดมความคิด การจัดแผนงานและโครงการที่มองเป้าหมายร่วมกันซึ่งที่ผ่านมานั้น คำว่า “บูรณาการ”เป็นการบูรณาการเพียงการจัดประชุมเพื่อการแบ่งงานกันทำตามภารกิจของหน่วยงานนั้นๆ การติดกรอบของการทำงานตามภารกิจหลัก
ของหน่วยงาน แต่ขาดการติดตามและประเมินผลร่วมกัน
ช่วงที่ 1 การวิเคราะห์บทบาทและเป้าหมายของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
จากการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่มีความมุ่งหมาย
ตามเจตนารมณ์ให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีทั้งอำเภอขยายเป็นจังหวัด และประเทศชาติ การพัฒนาศักยภาพการขับเคลื่อน พชอ.ให้เกิดความยั่งยืน นอกจากจะมีกลไกที่เอื้อต่อการบูรณาการแล้วยังต้องมาจากความรู้สึกเป็นเจ้าของด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ พชอ. อนุกรรมการ พชอ. และภาคีเครือข่าย
ทั้งเชิงพื้นที่และเชิงประเด็นแล้ว การจัดให้มีกระบวนการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการเรียนรู้ด้วยใจ อย่างใคร่ครวญ และสุนทรียสนทนา เพื่อการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ จึงได้จัดกิจกรรม
ของการประชุมในภาพรวม ดังนี้
1. การฟังด้วยใจ เป็นเครื่องมือในการทบทวนคุณค่าร่วมและบทบาทหน้าที่ของ พชอ. โดยให้ผู้เข้าร่วมทุกคนทบทวนใคร่ครวญกับตัวเอง ผ่านคำถามนำ 4 ข้อ
1.1 ข้อดีของการมี พชอ.
1.2 ความคาดหวังที่มีต่อ พชอ.
1.3 ข้อจำกัดที่อาจทำให้ความคาดหวังไม่บรรลุถึง
1.4 พชอ.จะช่วยให้การขับเคลื่อนประเด็นอาหารปลอดภัยประสบความสำเร็จได้อย่างไร
โดยผู้เข้าร่วมเขียนคำตอบในบัตรคำ 4 ส่วน เพื่อสะท้อนประเด็นทั้ง 4 ประเด็นจากกิจกรรม
2. ผู้เข้าร่วมที่มาจากภาคีเครือข่ายที่หลากหลายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรต้นแบบ
จับคู่พูดคุยกับผู้ที่ตนไม่คุ้นเคย โดยใช้เครื่องมือการฟังด้วยใจเพื่อลดอคติอันเกิดจากความแตกต่าง
หรือชุดความรู้ที่ไม่เหมือนกันฟังด้วยความเมตตาไม่ตัดสินไว้ก่อนตามประสบการณ์หรือค่านิยมไม่เหมารวม
ที่อาจทำให้กล่าวหาผู้อื่นอย่างขาดความเข้าใจ และการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญ
ในการขับเคลื่อนการทำงานให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน มีความเข้าใจเครือข่ายที่หลากหลายทั้งความคาดหวัง และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เพื่อค้นหาคุณค่าและเป้าหมายร่วมที่มาจากใจ
ผลจากการทำกิจกรรมพบว่า คณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัย ประเด็นอาหารปลอดภัยได้สะท้อนข้อดีความคาดหวังและข้อจำกัดของ พชอ. ตลอดจนประเด็นการทำงานร่วมกันเพื่อจะช่วยให้การขับเคลื่อนประเด็นอาหารปลอดภัยประสบความสำเร็จได้อย่างไร
ในประเด็นที่สำคัญไว้ดังนี้
ข้อดีของการมี พชอ.
- มีกลไกการทำงานที่ชัดเจนขึ้น
- มีพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม
- มีความหวังที่จะเห็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ความคาดหวังต่อ พชอ.
- คาดหวังว่าจะเกิดการบูณาการที่แท้จริง
- คาดหวังว่าทุกภาคส่วนจะไม่มองว่างานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเป็นหน้าที่ของหน่วยงาน
ด้านสาธารณสุขเพียงอย่างเดียว
- คาดหวังว่าจะมีการออกแบบกลไกการขับเคลื่อนให้ลงลึกถึงระดับพื้นที่ได้จริง
- คาดหวังว่าจะได้รับองค์ความรู้เพิ่มขึ้นและมีเวทีให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้งเชิงพื้นที่
และเชิงประเด็น
- คาดหวังว่าจะมีการขับเคลื่อนที่ต่อเนื่อง ไม่เปลี่ยนตามนโยบายระดับบน การโยกย้าย
ทั้งในเชิงกลไก ประเด็น และงบประมาณ
ข้อจำกัดที่อาจจะเกิดขึ้น
- วิธีการบูรณาการที่ทุกภาคส่วนทำงานร่วมกันได้
- ความตระหนักและการเห็นคุณค่า เป้าหมายร่วมของคณะกรรมการ เพราะเป็นปัจจัยกำหนด
การทุ่มเท การให้เวลา และการบริหารจัดการ เพราะคณะกรรมการส่วนใหญ่มีภารกิจเดิมอยู่มาก
- การสนับสนุนที่ต่อเนื่อง
- องค์ความรู้ และการจัดการความรู้ในประเด็นต่าง ๆ
- การสื่อสารสู่ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมเพื่อสร้างองค์ความรู้และความร่วมมือ
การร่วมกันใน พชอ. ที่จะช่วยให้การขับเคลื่อนประเด็นอาหารปลอดภัยประสบความสำเร็จ
ได้อย่างไร
- มีการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
- มีกลไกที่น่าเชื่อถือโดยมีนายอำเภอเป็นผู้นำ
- อำเภอศรีสัชนาลัยมีต้นทุนมากพอที่จะขับเคลื่อนได้สำเร็จ
- ประเด็นมีความสอดคล้องกับภาพใหญ่ของยุทธศาสตร์จังหวัดสุโขทัย
- การคืนข้อมูลสุขภาพที่เป็นผลกระทบจากการใช้สารเคมีภาคเกษตร
- เกษตรกรอยากปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรปลอดภัยมากขึ้นและต้องการองค์ความรู้ทดแทนรวมถึงกลไกสนับสนุนที่ครบวงจร ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
3. การทบทวนบทบาทหน้าที่ คณะกรรมการและอนุกรรมการ โดยใช้กระบวนการทบทวนจาก
ความเข้าใจเดิมของผู้เข้าร่วม พบว่า
3.1 เป็นต้นแบบด้านอาหารปลอดภัย ทั้งมิติการดำเนินชีวิต ภูมิปัญญา และการพึ่งตนเอง
3.2 ขยายเครือข่ายสู่ชุมชนใกล้เคียงและผู้สนใจ
3.3 มีจิตอาสา ทั้งมิติองค์ความรู้ ภูมิปัญญา เวลา และความร่วมมือกับภาครัฐ
3.4 เสนอแนะต่อคณะกรรมการเพื่อให้ พชอ. มีความเข้มแข็งและยั่งยืน
จากนั้นผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอในบทบาทของผู้ช่วยเลขานุการ พชอ. ได้แจ้งบทบาทหน้าที่ตามประกาศการแต่งตั้งคณะกรรมการ พชอ. ได้ทราบ เพื่อให้เกิดการอภิปรายในที่ประชุม เพื่อสร้างจุดร่วมระหว่างบทบาทตามนโยบายเป็นเสมือนเส้นด้ายในแนวดิ่งและความเข้าใจ ความตระหนักของภาคีเครือข่ายเป็นเสมือนเส้นด้ายในแนวราบเพื่อถักทอความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ช่วงที่ 2 กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนและการประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนกลไก
การทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
การสร้างแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพโดยชุมชน (Community Health Impact Assessment : CHIA) คือ การกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมตัดสินใจนโยบาย โครงการ และกิจกรรมการวางแผนพัฒนาด้านต่าง ๆ
ในการขับเคลื่อน เพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนโดยเกิดการทำงานร่วมกันของโครงการพัฒนาหรือกิจกรรม
ของชุมชนในลักษณะของการสร้างพื้นที่ร่วม หรือพื้นที่กลางของประเด็นร่วม เพื่อให้เป็นพื้นที่ปฏิบัติการร่วม โดยทำให้เกิดเป้าหมายร่วมเดียวกัน และนำไปสู่การขับเคลื่อนงานตามภารกิจจากภาพอนาคตที่กำหนดไว้ร่วมกัน ซึ่งกระบวนการเป็นไปดังภาพที่ 1-3
ภาพที่ 1 แนวทางการดำเนินกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนจากสถานการณ์
ที่เป็นปัญหาที่เข้ามากระทบกับชุมชน เพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ภาพที่ 2 การดำเนินกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โดยเกิดการทำงานร่วมกันของโครงการพัฒนาหรือกิจกรรมของชุมชนในลักษณะของการสร้างพื้นที่ร่วม หรือพื้นที่กลางของประเด็นร่วม เพื่อให้เป็นพื้นที่ปฏิบัติการร่วม โดยทำให้เกิดเป้าหมายร่วมเดียวกัน และนำไปสู่การขับเคลื่อนงานตามภารกิจ
จากภาพอนาคตที่กำหนดไว้ร่วมกัน
ภาพที่ 3 หกขั้นตอนของการดำเนินกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ดังนั้น การอาศัยความร่วมมือของหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ รวมทั้งด้านสถาบันทางวิชาการในระดับอำเภอ ซึ่งปัจจุบัน
ใช้การเชื่อมรอยการทำงานผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เพื่อการหนุนเสริมกระบวนการทำงานร่วมกันและเกิดการบูรณาการในระดับอำเภอได้ และการดำเนินโครงการส่วนใหญ่
ยังขาดความเข้มแข็งของชุมชน โดยโครงการเป็นการดำเนินกิจกรรมที่จัดเป็นครั้งๆ แต่ยังขาดทั้งการมีส่วนร่วมดังที่กล่าวข้างต้น และการให้กระบวนการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาด้วยชุมชนเอง
ดังนั้น เมื่อโครงการหรือกิจกรรมแล้วเสร็จก็รายงานผลการดำเนินงานตามขั้นตอนของระบบ ส่งผลให้งบประมาณของภาครัฐในสัดส่วนที่มากนั้น ยังขาดการใช้งบประมาณที่ขาดประสิทธิภาพ การเกิดการรวมตัวกันของภาคประชาสังคม ตลอดจนภาครัฐและเอกชนในหลายพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ และพลิกเปลี่ยน
การทำงานให้เกิด “การมีส่วนร่วมและการสานพลัง” ที่ส่งผลให้เกิด “การสานพลังปัญญา พลังคน
และทรัพยากร” ที่นำไปสู่การก้าวข้ามปัญหา อุปสรรคและการเป็นพื้นที่รูปธรรมต้นแบบที่ถือว่าเป็นบทเรียนสำคัญของประเทศ ที่ทุกภาคส่วนสามารถเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ก่อเกิดเครือข่ายเพื่อการขยายผลสำเร็จพื้นที่รูปธรรมในวงกว้างต่อไป รวมถึงเวลาที่ภาครัฐเป็นหลักของการมีกำลังคนและกำลังทรัพยากร ตลอดจนโครงสร้างการบริหารจัดการที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ จำเป็นที่จะต้องใช้หลักการทำงานที่ทำให้เกิดการบูรณาการอย่างแท้จริง โดยยึดเป้าหมายร่วม รวมทั้งการส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่ โดยหน่วยงานของภาครัฐมีหน้าที่ในการสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในพื้นที่ ตั้งแต่การเสนอ
และออกแบบโครงการ กิจกรรม ซึ่งจะทำให้โครงการหรือกิจกรรมที่จัดในพื้นที่ผ่านการคิด กลั่นกรอง
ความเป็นไปได้ การลำดับความสำคัญและความต่อเนื่องของโครงการที่ทำร่วมกันในการที่จะส่งผลสัมฤทธิ์
และประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ที่ส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนเพื่อการสร้างปัจจัยกำหนดสุขภาพที่ดีร่วมกันแบบองค์รวม เพื่อการแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนได้อย่างยั่งยืน
ช่วงที่ 3 การนำเสนอการขับเคลื่อนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่ผ่านมาของจังหวัดสุโขทัย โดย ผศ. ดร. พนิดา จงสุขสมสกุล
ผศ.ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล ได้นำเสนอวีดิทัศน์การขับเคลื่อนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่ผ่านมาของจังหวัดสุโขทัยเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจของการทำงานร่วมกันต่อไป
ข้อคิดเห็นในที่ประชุม
- ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ ชี้แจงเพิ่มเติมว่าจากการเป็นคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 2 มองว่าการขับเคลื่อนงานเน้นในเรื่องทำงานเชิงบูรณาการโดยค้นพบว่า พชอ. จะเป็นกลไกสำคัญที่จะสามารถบูรณาการ การทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนในพื้นที่ที่มีขนาดเหมาะสม คือ พื้นที่ระดับอำเภอโดยพื้นที่นำร่องที่เข้าไปดำเนินการ คือ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยทีมที่เข้าไปจัดกระบวนการ CHIA ที่เป็นไปในลักษณะโค้ชเข้าไปช่วยกระตุ้นให้พื้นที่ได้คิดเองได้และ
เกิดการขับเคลื่อนด้วยตนเอง พัฒนาต่อยอดไปอย่างยั่งยืน
- นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ เสริมว่า การขับเคลื่อนโครงการมาตลอดระยะเวลาทั้ง 3 ปีนี้ อยากให้เกิดการรวบรวมผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่างๆ นั้น ให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงมาสู่ DHS ให้ได้โดยเฉพาะกรณีของการเข้าไปส่งเสริมให้พื้นที่สามารถประเมินผลCHIA ได้นั้นส่งผลต่อระบบสุขภาพอำเภอ
ที่พึงประสงค์ไว้อย่างไรบ้าง ทางทีมงานต้องทำความเข้าใจและสื่อสารให้ได้
-
1.5 การใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงานโครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ
ที่พึงประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 (นางสาวสุพัตรา สลีวงศ์ และ นางสาวรุ่งนภา พุ่มชม)
สรุปเรื่อง งบประมาณโครงการทั้งหมด จำนวน 19,377,284 บาท
งบประมาณเบิกจาก สสส. และได้รับโอนมาแล้ว
จำนวน 14,491,017.00บาท
ใช้จ่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว (หลักฐานครบ)
จำนวน 7,988,906.77 บาท
ทำกิจกรรมแล้วรอเอกสารหลักฐานเพื่อการเบิกจ่าย
จำนวน 2,065,990.00 บาท
แผนการเบิกจ่าย(ยังไม่ได้ดำเนินกิจกรรม) งวด 1- 5
จำนวน 4,436,120.23 บาท
รวมแผนการเบิกจ่ายจนเสร็จสิ้นโครงการ งวด 1-7
จำนวน 11,388,377.23 บาท
คงเหลือแผนการเบิกจ่ายจนเสร็จสิ้นโครงการ งวด 1-7 (หลังหักเงินเดือน/ค่าจ้างและหักนำส่งมหาวิทยาลัย) จำนวนทั้งสิ้น 10,128,051.23 บาท
ข้อคิดเห็นในที่ประชุม
- รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ ชี้แจงว่า ขณะนี้ได้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการเป็นไปตามกรอบการเงินและระยะเวลาดำเนินโครงการ แต่ยังมีบางกิจกรรมในโครงการที่พื้นที่ทำไปแต่ยังไม่ได้มีการใช้งบประมาณโดยระยะเวลาโครงการจะสิ้นสุดวันที่ 19 มิถุนายน 2563 ซึ่งจะพยายามดำเนินให้เสร็จครบตามกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการ
- นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ กล่าวเสริมว่า การใช้จ่ายงบประมาณควรคำนึงถึงการได้ประโยชน์และคุ้มค่าอย่างถึงที่สุดตลอดจนการจัดการที่มีคุณภาพ สามารถตรวจสอบได้ เพราะเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
2.1 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ
ที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ครั้งที่ 5/2562
วันที่ 24 ธันวาคม 2562 เวลา 14.00 – 16.30 น. ห้องประชุม CC2-414 ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ
7 พระชนมพรรษา 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
(รองศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์)
- ที่ประชุมรับรองรายงาน
ระเบียบวาระที่ 3 ติดตาม
3.1 การโอนงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอในงวดที่ 2 จำนวน 47 อำเภอ
(รองศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์)
สรุปเรื่อง การโอนงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอในงวดที่ 2 จำนวน 47 อำเภอ
แบ่งการโอนงบประมาณสนับสนุนออกเป็น 2 รอบ
- รอบที่ 1 โอนงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอจำนวน 33 อำเภอ
งบประมาณสนับสนุนระบบสุขภาพอำเภอ 1,230,000 บาท โดยแบ่งเป็น
- ค่างบประมาณสนับสนุนการจัดอบรมประชุม จำนวน 1,216,300 บาท
- ค่าวัสดุ จำนวน 13,700 บาท
- รอบที่ 2 โอนงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอจำนวน 14 อำเภอ
งบประมาณสนับสนุนระบบสุขภาพอำเภอ 560,000 บาท
- ค่างบประมาณสนับสนุนการจัดอบรมประชุม จำนวน 545,800 บาท
- ค่าวัสดุ จำนวน 14,200 บาท
สรุปงบประมาณที่โอนทั้งหมด 2 รอบ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,790,000 บาท
(กำหนดการให้พื้นที่ดำเนินงานภายหลังการโอนงบประมาณให้แล้วเสร็จภายใน 31 มีนาคม2563)
ข้อคิดเห็นในที่ประชุม
- การจัดสรรงบประมาณนั้น มีการพัฒนาศักยภาพระดับอำเภอ 2 ครั้ง โดยมีการสนับสนุนงบประมาณไปแต่ละอำเภอไม่เท่ากัน จำนวน 30,000 บาท และ 50,000 บาท
- เพราะฉะนั้นในขณะนี้ได้มีการอนุมัติงบประมาณไปทั้ง 47 อำเภอได้ครบหมดทุกอำเภอโดยพิจารณาจากแผนงานที่ส่งมาจึงจะมีการอนุมัติงบลงไป คาดการณ์ว่าภายใน 31 มีนาคม 2563 ทุกอำเภอ
จะสามารถดำเนินงานโครงการเสร็จสิ้น
- สำหรับแผนงานกิจกรรมโครงการนั้น แต่ละอำเภอนำไปใช้ในการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ
ที่พึงประสงค์ให้เข้มแข็งโดยให้มีการออกแบบระบบตาม Six Building Block Plus One ถึงแม้จะมีการยกประเด็นสุขภาพขึ้นมา แต่อย่าลืมว่าจะต้องออกแบบประเด็นให้เป็นระบบเพื่อการตรวจสอบและสามารถตอบได้ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ตามแต่ละระบบมีความเชื่อมโยงกันและกัน
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องสืบเนื่อง
4.1 ความคืบหน้าของการผลิตสื่อสารสาธารณะ (นางอัญชุลี ทองเงิน และ นายวราชัย ชูสิงห์)
สรุปเรื่อง เนื่องด้วยทางโครงการฯ กำหนดให้มีการจัดทำสื่อสาธารณะเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
โดยใช้งบประมาณสื่อสารสาธารณะเป็นจำนวนเงิน 230,000 บาท ทางทีมผลิตสื่อสารสาธารณะจึงมีการจัดทำสื่อ ดังนี้
1. สารคดีเชิงข่าว เรื่อง สุข(สูงวัย)กันทั้งอำเภอ พร้อมชุดการสื่อสาร
2. หนังสั้น : เรื่อง สุข 3 อ. กับนายอำเภอศรีนคร
3. เพลง และ MV สุขกันทั้งอำเภอ ขณะนี้รอในส่วนของลิขสิทธิ์ทำนองเพลง “เลิกคุยทั้งอำเภอเพื่อเธอคนเดียว” ตอบกลับมา
4. เพจ Facebook : สุขกันทั้งอำเภอ ขณะนี้มีผู้เข้ามาติดตามพอสมควร
5. ช่อง You Tube : สุขกันทั้งอำเภอ
6. Motion infographic จำนวน 2 ชิ้น
7. เพลงสุขทุกหมู่บ้าน เนื้อร้องโดย อาจารย์นายแพทย์สำราญ แสงสินแก้ว เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ
ในการประพันธ์เพลงโดยมุ่งหวังสื่อสารไปในพื้นที่ทุกระดับทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
ข้อคิดเห็นในที่ประชุม
- บางส่วนได้มีการสนับสนุนงบประมาณลงไปแล้วแต่บางรายการยังไม่มีการดำเนินงาน
- ฝากให้ไปทบทวนเพื่อปรับแผนงานในการสื่อสารไปถึงสังคมชุมชนให้มากขึ้น ซึ่งมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบไปดำเนินการเพื่อเพิ่มจำนวนการเข้าถึงในแต่ละช่องทาง
- ขณะนี้มีการสื่อสารและแชร์ไปในทุกช่องทางต่างๆ ทั้งไทยพีบีเอส ช่องยูทูป และเพจเฟสบุ๊กต่างๆ
เพื่อขยายช่องทางและการเข้าถึงให้มากที่สุด
4.2 ความคืบหน้าของการดำเนินการโครงการพัฒนาระบบ Health information system
(นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก)
- นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ ชี้แจงว่า ปัญหาที่พบโดยเฉพาะการทำความเข้าใจ มี 2 ประการ ประการแรก การทำความเข้าใจระหว่าง DHS และ พชอ. ซึ่งบางส่วนตีความเท่ากันไปแล้ว ประการที่สอง
กรอบแนวคิดที่โครงการเราทำ คือ DHS แต่คนทำงานตีความไปเป็นกรอบแนวคิดที่ทำมานานแล้ว
คือ UCCARE สาเหตุที่ UCCARE ได้รับความนิยมนั้น เป็นเพราะว่าที่ผ่านมาเป็นการประเมินผล
ในรูปแบบที่มองในมุมกว้างขณะเดียวกันเครื่องมือใหม่ คือ DHS ที่เพิ่งเข้ามานี้ มีการประเมินแบบ
ชี้เฉพาะและแคบกว่า แน่นอนว่าทำให้ได้รับความนิยมที่น้อยกว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่กระนั้นจะต้องมีการปรับตัวและเรียนรู้ไปด้วยกัน
- นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า พชอ. คือ DHB (District Health Board) ให้เข้าใจตรงกันแบบนี้ ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจต้องมีการอธิบายระบบซ้ำๆบ่อยๆ ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาคิดเชิงระบบร่วมกัน
- ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การที่เราพัฒนาเครื่องมือใหม่เข้ามาพื้นที่มองว่า
ไปเพิ่มภาระให้เขาเพราะยังคุ้นชินกับเครื่องมือเดิมๆ ที่ทำอยู่ถึงแม้ว่าจะเป็นการประเมินแบบ
เสริมพลัง หรือกระบวนการศึกษาค้นหาร่วมกัน (Appreciate Inquiry) แต่กระนั้นอย่าลืมประเด็น ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น คือ ของจริงที่จะประจักษ์ให้เห็นเมื่อเกิดการประเมิน และพร้อมที่จะรับ
การแนะนำเพื่อการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนไปติดตาม ดูแล และให้คำแนะนำ ในการใช้เครื่องมือ
ให้เกิดความชำนาญ
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา
5.1 การลงพื้นที่ประเมินการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอตามแผนงานโครงการ
(เภสัชกรหญิงดวงดาว วงศ์จำปา และ เภสัชกร ดร.ทรงศักดิ์ ทองสนิท)
สรุปเรื่อง แผนการประเมิน
ปี 2561
ระยะที่ 1 ลงพื้นที่เพื่อประเมินโดยใช้แบบประเมิน Six Building Blocks Plus Oneช่วงเดือนมิถุนายน 2561 – สิงหาคม 2561 (ทดลองใช้คู่มือแบบประเมินตนเอง ระบุ baseline และค้นหาช่องว่าง
เพื่อการพัฒนา)
ปี 2562
- ดำเนินการ M&E แต่ละจังหวัด
ปี 2563
ระยะที่ 2
- ติดตามความก้าวหน้าและข้อเสนอแนะ ข้อค้นพบ จากการประเมินในรอบที่ 1
- ติดตามนิเทศการดำเนินการ การจัดการประเด็นสุขภาพจากงบประมาณระยะที่ 1 และ 2
- ชี้แนะพื้นที่เตรียมตัวเข้าร่วมงาน DHS Forum
ระยะที่ 3
- ติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอโดยนำแนวคิด Six Building Blocks Plus One
ไปประยุกต์ใช้ และติดตามนิเทศผลลัพธ์การดำเนินการการจัดการประเด็นสุขภาพ และสิ่งที่
จะดำเนินการต่อในระยะต่อไป
ผู้ลงเยี่ยมประเมิน ประกอบด้วย
ผู้ประเมินระดับจังหวัดทั้งหมด 5 จังหวัด
ผู้เยี่ยมประเมินจากโครงการฯ
ผู้รับการประเมิน คือ ทีมคณะกรรมการ พชอ. ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่ผ่านมา
เครื่องมือที่ใช้
แบบประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์
การเตรียมตัวของผู้ประเมิน
1. ดูข้อมูลของพื้นที่จากโปรแกรมการประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์
2. แต่ละทีมควรนัดสรุปข้อมูลของพื้นที่ทั้งหมดก่อนลงการประเมิน
3. ลงเยี่ยมพื้นที่ตามรอยตามที่พื้นที่เขียนส่งมา (1 เรื่อง) หรือแบ่งทีมกันตามรอย
สิ่งที่พื้นที่รับการประเมินต้องเตรียม
1. ลงข้อมูลในระบบประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์ภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563
2. เตรียมสไลด์ข้อมูลนำเสนอความก้าวหน้าและข้อเสนอแนะ ข้อค้นพบ จากการประเมินในรอบที่ 1ของพื้นที่ในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับระบบสุขภาพอำเภอโดยมีการใช้แบบประเมิน Six Building Blocks Plus One (นำเสนอไม่เกิน 20 นาที)
3. เตรียมหลักฐานตามเรื่องที่ส่งมา เช่น ควรเตรียมเรื่องหรือหลักฐานสิ่งที่เขียนเอาไว้เนื่องจาก
ผู้ประเมินจะลงมาเยี่ยมพื้นที่ประเมินตามรอย
ระยะเวลาในการลงเยี่ยมพื้นที่
เดือนมีนาคม 2563
ข้อคิดเห็นในที่ประชุม
- กระบวนถอดบทเรียนถือว่ามีความสำคัญ โดยการดำเนินงานมาตลอดระย