สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร โครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ครั้งที่ 2/2562
วันที่ 11 เมษายน 2562 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม CC2-414 ชั้น 4
อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 พระชนมพรรษา 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
วาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
1. การรายงานความก้าวหน้าโครงการต่อคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 7 ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2562 เวลา 13.30 - 16.30 น. ณ ห้องประชุม 501 ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. โดยมีประเด็นที่ได้รับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 7 ดังนี้
1) หากมีความเป็นไปได้ขอให้ก้าวไปสู่การจัดการปัจจัย Health Promotion ในโรค NCD
2) ข้อมูลระดับอำเภอควรลงลึกถึงปัจจัยเสี่ยง เช่น มาตรการป้องกันในศูนย์เด็กเล็ก หรือ ปัจจัยอุบัติเหตุจากจักรยานยนต์ต่อเชื่อมไปถึงการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่อำเภอสนใจ Implement หรือมีข้อมูลว่าเป็นปัญหาแต่ไม่สนใจจัดการปัจจัยเสี่ยง
3) ใน 47 อำเภอ สามารถดึงอำเภอที่เด่นในแต่ละ 6 Building blocks และต่อเชื่อมกับ พชอ.
ที่มีการจัดการเชิงประเด็น ดังนั้นต้องวิเคราะห์ระหว่าง ระบบ และ ประเด็น เป็นภาพการพัฒนาเชิงซ้อน
4) เงื่อนไขของความสำเร็จแต่ละหน่วยบริการจะต้องพิจารณาด้วย
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานนำการประชุมครั้งนี้ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้โครงการเข้าสู่ปีที่ 2 ซึ่งได้ดำเนินการไปพอสมควร จนสามารถได้ผลการประเมิน
เป็นที่น่าพอใจรวมถึงได้มีการส่งคืนข้อมูลให้แต่ละอำเภอเพื่อจัดทำแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์เพื่อรับการสนับสนุนในประเด็นที่ทางอำเภอได้คัดเลือกมาทั้งนี้หลังจากที่นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ได้ไปนำเสนอผลการดำเนินงานที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มานั้น ได้มีแนวคิดในปรับแนวทางการพัฒนาแผนงานโดยไม่เน้นที่การแก้ไขปัญหาตามประเด็นแต่ต้องการให้มีการนำงบประมาณไปพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอให้มีความเข้มแข็ง
นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก กล่าวเสริมว่า ตอนนี้โครงการฯอยู่ในขั้นตอนของการสนับสนุนงบประมาณให้แก่อำเภอ ๆ ละ 50,000 บาท นอกจากนี้ยังมีงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุขแยกต่างหากอีก 2 กอง คือ กองแรก 25,000 กับกองที่สอง 30,000 บาท ซึ่งงบประมาณ 2 กองหลังนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนให้โดยสามารถนำไปพัฒนารายประเด็นที่แต่ละอำเภอสนใจได้
จากการที่ได้ไปนำเสนอให้ สสส. มานั้น ได้ทำการชี้แจงว่า ณ ขณะนี้ทางโครงการได้ชุดคู่มือ
ที่สามารถนำไปใช้ได้ซึ่งได้นำไปแจกให้กับทางคณะกรรมการของ สสส. โดยได้รับความสนใจอย่างมาก นอกจากนี้ทางคณะกรรมการยังได้ขอเอกสารเพิ่มเติมเพื่อแจกให้กับคณะกรรมการครบทุกคน ทั้งนี้ งบประมาณ 50,000 จากโครงการจะนำไปต่อยอดและพัฒนาระบบและเครื่องมือเพิ่มเติมส่วนงบ
จากกระทรวงจะนำไปใช้ในรายประเด็นที่อยู่ในแผนงานของอำเภออยู่แล้ว ฉะนั้นกล่าวโดยสรุปคือ
1. งบประมาณ 50,000 บาท ที่ได้รับจากโครงการให้นำไปพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ
ที่พึงประสงค์จะคัดเลือกทั้ง 7 Blocks หรือ เลือกทำ 2-3 Blocks หรือ Block เดียว แล้วแต่ทางอำเภอจะออกแบบแผนงาน ทั้งนี้ต้องให้ความสำคัญในเรื่องการประเมินผลซึ่งต่อยอด
จากประเด็นจุดแข็ง จุดอ่อนของแต่ละอำเภอ
2. ไม่ควรนำงบประมาณไปทำซ้ำซ้อนกันโดยในรายประเด็นนั้นทางกระทรวงมีคำสั่งให้ดำเนินการรายประเด็นอยู่แล้วตามบทบาทของ พชอ.
3. มีเงื่อนไขของเวลาที่ควรดำเนินการโดยเร่งด่วนซึ่งจะได้มีการเสร็จสิ้นโครงการในภาพรวมพร้อมกัน
2.การประชุมนำเสนอแผนและพิจารณาโครงการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์
เพื่อขออนุมัติระบบสุขภาพอำเภอ
นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ ได้นำเสนอคำแนะนำในการใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ โดยมีแนวทางดังนี้
ข้อตกลงที่ 1
งบประมาณ 50,000 บาท เพื่อพัฒนาให้เห็นวิธีการจัดการ DHS เชิงระบบไม่ใช่เพื่อดำเนินการเฉพาะเรื่องหรือทำโครงการรายประเด็นหากแต่ให้นำงบประมาณไปพัฒนาระบบสุขภาพที่พึงประสงค์อย่างแท้จริงโดยมีเงื่อนไขแนะนำดังนี้
ให้นำงบประมาณไปดำเนินการดังต่อไปนี้
- ประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือ จัดสัมมนา หรือ จัดเวทีเพื่อระดมสมองและสุดท้ายได้ข้อสรุปที่เป็นวิธีการดำเนินงานเชิงระบบที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมหรืออาจใช้เป็นเอกสารประกอบการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว
- อาจใช้เพื่อผลิตเอกสารแนวทางการดำเนินงาน หรือ work flow ที่เป็นรูปธรรม จากข้อสรุป ของกิจกรรมข้างต้น
- อาจใช้เพื่อให้เกิดกระบวนการติดตาม นิเทศ ให้คำปรึกษา หรือติดตามความก้าวหน้าในพื้นที่
ไม่ควรนำงบประมาณไปทำเรื่องปฏิบัติเฉพาะ เช่น
- ไปจัดกิจกรรมรณรงค์ (โรค, อุบัติเหตุจราจร, ท้องไม่พร้อม, การออกกำลังกาย ฯลฯ)
- ไปทำกิจกรรมคัดกรองโรค, ซื้อวัสดุประกอบบริการ, จัดอบรมความรู้เรื่องโรค หรือเรื่อง
การปฏิบัติ
- ไปทำสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่องโรค หรือปัญหาสุขภาพ เอกสารประกอบบริการ หรือ แบบสอบถามประชาชนเรื่องการบริการ
ข้อตกลงที่ 2
ผลผลิตที่ต้องการ คือ แนวทางที่เป็นรูปธรรม ข้อตกลงที่เป็นรูปธรรม ที่จะเป็นความชัดเจน
ที่สามารถยึดถือและปฏิบัติได้อย่างแท้จริงในระบบย่อยทั้ง 7 ระบบ ไม่ใช่ผลการบริการที่ดีขึ้น ผลทางสุขภาพที่ดีขึ้น หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละระบบ
สิ่งที่อยากให้นำมาแสดง
- แผน หรือ แนวทาง หรือ ข้อตกลง หรือ work flow ที่ชัดเจนในการดำเนินงาน ในแต่ละระบบย่อยทั้ง 7 ระบบ
- แผน หรือ แนวทาง หรือ ข้อตกลง หรือ work flow ที่ชัดเจนในการเชื่อมโยงระหว่าง
ระบบย่อยทั้ง 7 ระบบ
- แผน หรือ แนวทาง หรือ ข้อตกลง หรือ work flow ที่ชัดเจนในเรื่องความร่วมมือระหว่างภาคส่วนในอำเภอเมื่อจะมีการดำเนินนโยบายใด ๆ ในระบบสุขภาพอำเภอ
สิ่งที่ไม่ต้องการได้
- ข้อมูลเฉพาะตัวเลข ผลงาน ภาพถ่าย หรือข้อความรายงาน เช่น ผลงานตามตัวชี้วัด รูปแสดงกิจกรรมการออกเยี่ยมบ้าน ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ การให้บริการอื่นฯลฯ หรือเพียงรูปการจัดอบรมสัมมนาในเรื่องใด ๆ (แต่ไม่มีผลผลิตที่เป็นแนวทาง หรือ ข้อตกลง หรือ work flow ที่ชัดเจน)
ทุกเรื่องเชื่อมโยงทุกระบบย่อย
ในระบบอำเภอหนึ่งเมื่อจะจัดการกับประเด็นสุขภาพใดถ้ามีการจัดการเชิง “ระบบ” ในกรอบ Six building blocks plus one ควรจะต้องมีการคิดอย่างเชื่อมโยง ทั้ง Six building blocks plus one
1. Leadership and Governance ระบบอภิบาลที่รวมถึงภาวะผู้นำมีความชัดเจนในการขับเคลื่อน และการจัดการ
2. Service Delivery ระบบบริการสุขภาพถูกออกแบบชัดเจน เชื่อมโยงและสามารถรองรับประเด็นสุขภาพนั้น ๆ
3. Health Workforce กำลังคน จำนวน สมรรถนะ เหมาะสมกับ service delivery
4. Financial System งบประมาณ ทรัพยากรที่จะสนับสนุน
5. Access to Essential Medical Products and Health Technologies
ยา วัคซีน เทคโนโลยีเหมาะสม
6. Community Health System ชุมชนมีกิจกรรมที่หนุนเสริม
7. Health Information Systems ระบบข้อมูลที่สนับสนุนหรือใช้ในการทำให้ระบบย่อยต่าง ๆ ดำเนินการได้ดี
คำแนะนำ
ในระบบอำเภอหนึ่งรับงบประมาณ 50,000 บาทโดยประสงค์ให้พัฒนา “ระบบสุขภาพอำเภอ”
เริ่มจาก
Step ที่ 1 ให้แต่ละอำเภอจัดตั้งทีมงานขึ้นมาโดยเป็นทีมงานที่เป็นนักคิด Thinker ซึ่งอาจจะเป็น
ภาคส่วนอื่น ๆ มาเสริมได้ เพราะต้องการ Out put
- การกำหนดนโยบายนั้นอาจจะมีมากกว่าการใช้การลงมติ หรือ ยกมือสนับสนุนความเห็น แต่อาจจะมีขั้นตอนที่มีคุณภาพมากขึ้นซึ่งอยากได้ผลผลิตนี้จากกลุ่ม Thinker ที่เข้ามามีส่วนร่วมในชุดคณะทำงาน
- กลุ่ม Thinker ต้องมีการศึกษาข้อมูลจากเลขานุการ พชอ. ก่อนล่วงหน้าที่จะมีการประชุมรายงานผลซึ่งนำไปสู่การได้เอกสารแสดงขั้นตอนการดำเนินงาน
Step ที่ 2 ตั้งเป้าได้ตามสิ่งที่อยากให้นำมาแสดง ดังนั้นจึงเตรียมการโดยให้ทีมงาน พูดคุย ทบทวนกันโดยอาจยกประเด็นทางสุขภาพมา 1 เรื่อง แล้วทบทวนว่ามีความชัดเจนในการดำเนินงาน เชื่อมโยง และร่วมมือระหว่างภาคส่วนหรือไม่อย่างไร แล้วจึงใช้งบประมาณจัดประชุมทีมงาน
Step ที่ 3 การที่จะเริ่มทำให้มี แนวทาง ข้อตกลง หรือ workflow ออกมาอย่างไร ควรไล่ทุกระบบ และแต่ละระบบควรมีลักษณะอย่างไรให้พิจารณาจากคู่มือเป็นหลัก
Step ที่ 4 หยิบยกประเด็นทางด้านสุขภาพมาเป็นตัวเดินเรื่องในการคิดเพื่อให้ได้ Model โดยไล่เรียง และสร้างคำตอบไปในแต่ละระบบย่อยอาจใช้การประชุม การระดมสมอง การคิดโดยทีมงาน การทำ workshop การจัดเวทีรับฟัง ฯลฯ
1. Leadership and Governance
- หัวข้อการคิดต่อในประเด็น Policy Guidance
- วิธีการขั้นตอนการพิจารณากำหนด Policy (มีขั้นตอนอย่างไร?)
- บุคคล หรือ คณะที่กำหนด Policy
- ข้อมูลที่นำเข้าสู่กระบวนการกำหนด (รูปแบบ/แหล่งข้อมูล)
- เพื่อให้ได้ประเด็นทางสุขภาพถ้าจะให้เกิดขึ้นเพราะตอบสนองความต้องการ
ของประชาชนและสอดคล้องกับนโยบาย/ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
- ผลผลิตออกมาในรูปแบบของแนวทางข้อตกลง work flow ที่เป็นรูปธรรม
- จากนั้นจึงได้ Policy Guidance ของประเด็นสุขภาพ
- หัวข้อการคิดในประเด็น System Design
- วิธีการ ขั้นตอนพิจารณาออกแบบระบบงาน (มีขั้นตอนใดบ้าง)
- บุคคล หรือคณะบุคคลที่ออกแบบระบบงาน
- ข้อมูลที่นำเข้าสู่กระบวนการออกแบบระบบงาน (รูปแบบข้อมูล แหล่งข้อมูล)
- เพื่อให้ระบบงานมีความเป็นรูปธรรมเชื่อมโยงกับระบบอื่นในอำเภอ และมีSystem Design ที่ส่งผลต่อประเด็นสุขภาพ
- หัวข้อการคิดในประเด็น Overall Management
- วิธีการ ขั้นตอนพิจารณามอบหมาย หรือกำหนดให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบดำเนินการ ทำแผน และขับเคลื่อน (มีขั้นตอนใดบ้างเป็นอย่างไร)
- บุคคล หรือคณะบุคคล ที่มอบหมาย และติดตาม
- วิธีการ ขั้นตอน กำหนดข้อมูลและวิธีการจัดเก็บ
- เพื่อให้ได้มีการขับเคลื่อนให้การดำเนินการเป็นไปตามทิศทางนโยบายและทรัพยากรถูกจัดสรรในการบริหารจัดการสุขภาพอย่างเหมาะสม
- หัวข้อการคิดในประเด็น Leadership of all levels
- วิธีการ ขั้นตอน การแต่งตั้ง การประชุม การทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ คณะกรรมการ พชอ. (มีขั้นตอน และระยะเวลาอย่างไร)
- บุคคล หรือคณะบุคคลที่ขับเคลื่อน หรืออำนวยความสะดวกการทำหน้าที่ ของ พชอ.
- ข้อมูล มติ บันทึกการประชุม คำสั่งที่เกี่ยวเนื่องจากมติ (รูปแบบข้อมูลวิธีการจัดเก็บข้อมูล)
- เพื่อให้ได้การนำของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
2. Service delivery system
- หัวข้อการคิดในประเด็น Service delivery system
- วิธีการ ขั้นตอน การกำหนด service
- วิธีการ ขั้นตอนการติดตาม กำกับ แก้ปัญหา service
- ข้อมูล เพื่อวัดการดำเนินงาน และวัดผลงานของ service
(รูปแบบข้อมูล วิธีการจัดเก็บข้อมูล)
- เพื่อให้ได้การตอบสนองความจำเป็นในแต่ละกลุ่มวัย และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และการบริการสุขภาพครบทุกมิติ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู คุ้มครองผู้บริโภค
3. Health Workforce
- หัวข้อการคิดประเด็น Health Sector Workforce
- แผนกำลังคนที่สอดคล้องกับ service
- หลักเกณฑ์การจัดสรร กระจาย กำลังคน ความร่วมมือกับกำลังคนส่วนอื่น
- ข้อมูลเพื่อประกอบการจัดการกำลังคน (รูปแบบข้อมูล วิธีการจัดเก็บข้อมูล)
- เพื่อให้ได้กำลังคนในแต่ละวิชาชีพมีความเพียงพอและกำลังคนมีค่านิยมการทำงานเพื่อประชาชน
- หัวข้อการคิดในประเด็น Non-Health Sector Workforce
- แผน แนวทาง ความร่วมมือกับบุคลากรนอกภาคสาธารณสุข (สร้างเป็นเครือข่าย ร่วมมือเป็นครั้งคราว การทำความเข้าใจในภารกิจฯลฯ)
- ข้อมูลเพื่อประกอบการจัดการ แสดงผลงาน ประเมิน (รูปแบบข้อมูล วิธีการจัดเก็บข้อมูล)
- เพื่อให้ได้เครือข่ายนอกภาคสาธารณสุขร่วมมือในการดำเนินการด้านสุขภาพ
อย่างสม่ำเสมอและมีความสามารถในการทำงานร่วมกับกำลังคนในภาคสาธารณสุข
4. Health Information System
- หัวข้อการคิดในประเด็น District Health Database
- วิธีการกำหนดชนิด ประเภท ข้อมูล และเครื่องมือในการจัดการข้อมูล
- วิธีการจัดการข้อมูล (จัดเก็บ ประมวล ผลิตเป็นรายงาน)
- วิธีการของผู้รับผิดชอบดำเนินการ
- วิธีการเชื่อมโยงนำไปใช้ประโยชน์
- เพื่อให้ได้มาซึ่งการสนับสนุนการบริการสุขภาพอย่างถูกต้องครบถ้วน สนับสนุน
การดำเนินงานด้านสุขภาพอย่างครอบคลุมและการออกแบบฐานข้อมูลและสารสนเทศตอบสนองความต้องการของการใช้งาน
5. Access to Essential Medicines and Health Technology
- หัวข้อการคิดในประเด็น Management for accessibility of essential medicines and health technology
- วิธีการกำหนดชนิด ประเภท ยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ที่สอดคล้องกับแผนบริการสุขภาพ
- วิธีการ จัดสรร กระจาย ติดตามการใช้ แก้ปัญหา ประเมิน
- ข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ติดตามการดำเนินงาน
- เพื่อให้ได้ ยา และเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ได้รับการจัดสรรอย่างสอดคล้องกับแผนบริการสุขภาพ และ มีการเลือกใช้ยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพอย่างรู้เท่าทัน
- หัวข้อการคิดในประเด็น Development and Innovation
- วิธีการกำหนดยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ควรศึกษา
- แผนการ วิธีการ สนับสนุนการศึกษา
- ข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ติดตามการดำเนินงาน
- เพื่อให้ได้มีผลงานการศึกษาและพัฒนาบนพื้นฐานการใช้งานจริงและมีการเชื่อมโยงร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในและนอกอำเภอ
6. Financial System
- หัวข้อการคิดในประเด็น Health Sector Financing and Resource sharing
- วิธีการ จัดสรรเงินทรัพยากรที่สอดคล้องแผนการดำเนินงานและแผนการพัฒนาสุขภาพ
- แผนการ แนวทางวิธีการในการติดตาม ประเมิน แก้ปัญหา
- ข้อมูล สารสนเทศที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพยากรของอำเภอ
- เพื่อให้ได้การจัดสรร แบ่งปัน ลงทุน ทรัพยากรสอดคล้องกับภารกิจและทิศทางการพัฒนา
- หัวข้อการคิดในประเด็น Non-Health Sector Financing and Resource sharing
- วิธีการ แนวทาง สื่อสารให้นอกภาคสาธารณสุข เข้าใจ และการแสวงหาการสนับสนุน
- แผนการ แนวทางวิธีการ ในการติดตาม ประเมิน แก้ปัญหา
- ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเงินและทรัพยากร
- เพื่อให้ได้ทรัพยากรสนับสนุนจากภาคส่วนอื่นทั้งในและนอกอำเภอ
7. Community Health System
- หัวข้อการคิดในประเด็น ความชัดเจน การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อสุขภาพ
- วิธีการ แนวทางในการให้ชุมชนมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพ
- แผนการ แนวทางวิธีการในการติดตาม ประเมิน แก้ปัญหา
- ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับความร่วมด้านสุขภาพ
- เพื่อให้ได้มาซึ่งการที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพหรือการดำเนินการด้านสุขภาพในพื้นที่และมีทรัพยากรหรือกฎระเบียบที่เอื้อประโยชน์ด้านสุขภาพ
ที่ชุมชนร่วมให้หรือร่วมกำหนดรวมถึงชุมชนมีกระบวนการเชื่อมโยงการจัดการด้านสุขภาพกับการดำเนินการด้านอื่นด้วยเช่นกัน
วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
2.1 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ
ที่พึงประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ครั้งที่ 1/2562 วันที่ 10 มกราคม 2562 ณ ห้องประชุม CC2-414 ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
โดยประธานขอให้ที่ประชุมพิจารณารับรองรายงานการประชุมฯ ครั้งที่ 1/2562 และ
ได้สอบถามท่านใดต้องการแก้ไขรายงานการประชุมฯ ครั้งที่ 1/2562 หรือไม่โดยในที่ประชุมไม่มีผู้ใดแก้ไขเพิ่มเติม
มติในที่ประชุม ได้พิจารณาแล้วมีมติเป็นเอกฉันท์รับรองรายงานการประชุมฯ ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 ตามที่เสนอต่อที่ประชุม
วาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง
3.1นำเสนอตัวอย่างแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์เพื่อรับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการโครงการฯ
การนี้ นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ได้นำเสนอตัวอย่างของแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์โดยยกประเด็น “อุบัติเหตุทางถนน” มานำเสนอให้เห็นถึงการทำงานโดยคำนึงถึงการพัฒนาระบบสุขภาพที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ดังนี้
ตัวอย่าง: ประเด็นอุบัติเหตุทางถนน
1. Policy Guidance
1.) วิธีการ ขั้นตอนพิจารณากำหนด policy เอกสารแสดงขั้นตอนการดำเนินการ เช่น
- เลขา พชอ. รวบรวมข้อมูลอุบัติเหตุในด้านต่าง ๆ ที่ผ่านการวิเคราะห์จากผู้เกี่ยวข้อง
- เสนอเป็นเอกสารให้คณะกรรมการได้ศึกษาล่วงหน้า
- ตั้งประเด็นที่สำคัญเพื่อให้เกิดการพิจารณา (ที่ปรากฏใน level ต่าง ๆ )
- เตรียมการสรุปนโยบายที่ได้รับการตัดสินใจกำหนด
2.) บุคคลหรือคณะบุคคลที่กำหนด policy
เอกสารแสดงข้อกำหนดว่าใครคือผู้ที่มีบทบาทกำหนด policy เช่น ให้ คณะกรรมการ พชอ.เป็นผู้กำหนด policy โดยอาจมีการเชิญผู้ที่คิดว่ามีความเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ในการกำหนด policy มาร่วมกำหนดหรือบางกรณี policy นั้นอาจถูกส่งไปทำประชาคมก่อนสรุปสุดท้ายเป็น policy ที่จะนำไปใช้
3.) ข้อมูลที่นำเข้าสู่กระบวนการกำหนด (รูปแบบข้อมูล แหล่งข้อมูล)
เอกสารเรื่องข้อมูลที่จะนำเข้า เช่น ข้อมูลอุบัติเหตุที่ผ่านการบูรณาการ 3 ฐานแล้ว, ข้อมูล
การสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุ, ข้อมูลการรักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ, ข้อมูลผลกระทบ
จากอุบัติเหตุ, ข้อมูลเกี่ยวกับจราจรจากตำรวจ, ข้อมูลจากฝ่ายปกครอง, การตั้งด่านชุมชนแยกเป็นรายพื้นที่ เวลา บุคคล (time place person), ข้อมูลที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ ฯลฯ
2. System Design
1.) วิธีการ ขั้นตอนพิจารณาออกแบบระบบงาน เอกสารแสดงขั้นตอนการดำเนินการ เช่น
- เลขา พชอ.รวบรวมมติจากที่ประชุมว่าได้การมอบหมายส่วนใดไปดำเนินการในเรื่องอุบัติเหตุบ้าง
ทำเรื่องใดบ้าง
- เป็นแกนในการจัดประชุมเพื่อให้ได้ข้อกำหนดการทำงานร่วมกันของส่วนที่เกี่ยวข้อง
- นำข้อตกลงระบบงานที่ได้มาพิจารณาคุณลักษณะ(ที่ปรากฏใน level ต่าง ๆ )
- ประสานผู้รู้หรือเชี่ยวชาญเรื่องอุบัติเหตุช่วยออกแบบ
- นำข้อตกลงระบบงานเข้าสู่ พชอ.
2.) บุคคลหรือคณะบุคคลที่ออกแบบระบบ
เอกสารแสดงข้อกำหนดว่าใครคือผู้ที่มีบทบาท ออกแบบระบบ เช่น คณะกรรมการ พชอ., นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องงานอุบัติเหตุ, ผู้ปฏิบัติ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามระบบงานฯลฯ
3.) ข้อมูลที่นำเข้าสู่กระบวนการออกแบบระบบงาน
เอกสารเรื่องข้อมูลที่จะนำเข้า เช่น ข้อมูล ระบบการดำเนินงานเดิมของ รพ., รพ.สต. งานการแพทย์ฉุกเฉิน, การดำเนินงานของ อปท., การดำเนินงานเรื่องอุบัติเหตุของส่วนราชการอื่น ๆ, ระบบการทำงานของ สสอ. สสจ. เขตสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ระบบการกำกับติดตามงานอุบัติเหตุ ฯลฯ
3. Overall Management
1.) วิธีการ ขั้นตอนพิจารณามอบหมายหรือกำหนดให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบดำเนินการทำแผน และขับเคลื่อน
- เลขา พชอ. นำข้อมูลจากความเห็นร่วมในการออกแบบระบบงานอุบัติเหตุว่าทำสิ่งใดบ้าง ส่วนใดเป็นผู้ทำและหรือต้องทำร่วมกันอย่างไรเป็นร่างฯเข้าสู่การพิจารณามอบหมายจาก พชอ.
- กำหนดความชัดเจนในการติดตามการปฏิบัติในเรื่องเงื่อนเวลาดำเนินการและการติดตามผล
- เมื่อได้ข้อตกลงที่ชัดเจนทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อยึดถือร่วมกัน
2.) บุคคล หรือคณะบุคคลที่มอบหมายและติดตาม
เอกสารแสดงข้อกำหนดว่าใครจะมีบทบาทอย่างไร เช่น การติดตามภาพรวมเป็นของคณะกรรมการ พชอ.จากนั้นหัวหน้าหน่วยของส่วนที่เกี่ยวข้องนั้น ๆดูแลในแต่ละส่วนที่เรื่องอุบัติเหตุ กรณีเป็นเรื่องที่ต้องทำร่วมกันหลายส่วนมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับผิดชอบ เช่นคณะกรรมการอุบัติเหตุอำเภอ, เลขา พชอ.เป็นผู้ติดตามการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย
3.) วิธีการ ขั้นตอน กำหนดข้อมูลและวิธีการจัดเก็บ
เอกสารเรื่องข้อมูล เช่น กำหนด ข้อมูล แผนงานของแต่ละส่วนในภารกิจที่ได้รับมอบหมาย, รายงานผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค, รายงานผลการดำเนินงานที่แต่ละส่วนทำ กำหนดวิธีการจัดเก็บ วิธีส่งส่งข้อมูล ฐานข้อมูล วิธีการแจ้งเตือนผลงานที่ไม่เป็นตามเป้าหมายหรือเกิดผลเสีย
4. Leadership of all levels
1.) วิธีการ ขั้นตอน การแต่งตั้ง การประชุม การทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ คณะกรรมการ พชอ.
- การกำหนดรายชื่อ คณะกรรมการ พชอ. การจัดทำคำสั่ง การตั้งกรรมการทดแทน
- การทำความเข้าใจและขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของ พชอ.
- กำหนดการประชุม การแจ้งมติ การมอบหมายงานแก่ผู้เกี่ยวข้อง
2.) บุคคลหรือคณะบุคคลที่ขับเคลื่อนหรืออำนวยความสะดวกการทำหน้าที่ของ พชอ.
เอกสารแสดงข้อกำหนด บุคคลที่ทำหน้าที่ เช่น คณะกรรมการ พชอ.จากนั้นหัวหน้าหน่วยของส่วนที่เกี่ยวข้องนั้น ๆ ดูแลในแต่ละส่วนที่รับผิดชอบกรณีเป็นเรื่องที่ต้องทำด้วยกันหลายส่วน
มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับผิดชอบ เลขา พชอ.เป็นผู้ติดตามการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย
3.) ข้อมูล มติ บันทึกการประชุม คำสั่งที่เกี่ยวเนื่องจากมติ
เอกสารกำหนด ข้อมูล แผนงานของแต่ละส่วนในภารกิจที่ได้รับมอบหมาย, รายงานผล
การดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค, รายงานผลการดำเนินงานที่แต่ละส่วนทำ, กำหนดวิธีการจัดเก็บ วิธีส่งส่งข้อมูล ฐานข้อมูล วิธีการแจ้งเตือนผลงานที่ไม่เป็นตามเป้าหมายหรือเกิดผลเสีย
5. Service Delivery System
1.) วิธีการ ขั้นตอนการกำหนดบริการด้านอุบัติเหตุและการดำเนินงานอุบัติเหตุ
- Work flow บริการด้านอุบัติเหตุตั้งแต่จุดเกิดเหตุ การนำส่ง การบริการที่โรงพยาบาล
การส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลหรือหน่วยงานอื่น
- Work flow การดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบจากอุบัติเหตุ
- การกำหนดบทบาทของส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
2.) วิธีการขั้นตอนกำกับ ติดตาม แก้ปัญหาบริการด้านอุบัติเหตุและการดำเนินงานอุบัติเหตุ
เอกสารกำหนดการดำเนินงาน วิธีการ ขั้นตอนการบริหารจัดการในเรื่องการขับเคลื่อน บริการและการดำเนินงานอุบัติเหตุ การติดตามกำกับ การวัดผล ว่าทำอะไร โดยใคร เมื่อใด
3.) ข้อมูลเพื่อวัดการดำเนินงานและวัดผลการดำเนินงานของ service
เอกสารกำหนดข้อมูลงานบริการอุบัติเหตุที่จะเก็บ วิธีการเก็บ โปรแกรมที่จะใช้ประมวลผล รายงานที่จะสร้างขึ้นมา
6. Health Sector Workforce
1.) แผนกำลังคนที่สอดคล้องกับ service
- แผนกำลังคนที่จะใช้ในการบริการอุบัติเหตุ และการดำเนินงานด้านอุบัติเหตุในทุกวิชาชีพ
ที่เกี่ยวข้อง การเตรียมการเพื่ออนาคต
- ข้อกำหนดบทบาทของกำลังคนสอดคล้องตามความจำเป็นของการบริการอุบัติเหตุและการดำเนินงานด้านอุบัติเหตุ
- แผนการในการสร้างค่านิยมที่มีการกำหนดหลักสูตร วิธีการ กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ
ที่ชัดเจน ที่มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย(บุคลากรที่ทำงานด้านอุบัติเหตุ)
2.) หลักเกณฑ์การจัดสรร กระจาย กำลังคน ความร่วมมือกับกำลังคนส่วนอื่น
หลักเกณฑ์ แนวทาง ข้อตกลง เป็นลายลักษณ์อักษรในส่วนของการกำหนด การกระจาย และความร่วมมือด้านกำลังคนจากหน่วยอื่นหรือกำลังคนจากหน่วยอื่นมาช่วยในการบริการหรือดำเนินงานด้านอุบัติเหตุ
3.) ข้อมูลเพื่อประกอบการจัดการกำลังคน
เอกสาร กำหนด ข้อมูล วิธีการจัดเก็บ เครื่องมือในการจัดเก็บ(เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์) ภาระงานบริการอุบัติเหตุและการดำเนินงานด้านอุบัติเหตุที่จะนำมาเป็นจุดตั้งต้นในการคำนวณกำลังคนที่ต้องการและกำหนดข้อมูลเพื่อใช้ในการติดตามประเมินความเพียงพอของกำลังคน
7. Non-Health Sector Workforce
1.) แผน แนวทาง ความร่วมมือกับบุคลากรนอกภาคสาธารณสุข (สร้างเป็นเครือข่ายร่วมมือเป็นครั้งคราวการทำความเข้าใจในภารกิจ ฯลฯ)
- เอกสารแผนการในการบริการอุบัติและดำเนินงานด้านอุบัติเหตุร่วมกับเครือข่ายนอกภาคสาธารณสุข เช่น แผนการทำงานร่วมกับตำรวจในเรื่องบังคบใช้กฎหมายจราจร แผนการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเรื่องการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน แผนการทำงานร่วมกับฝ่ายปกครองในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล ฯลฯ
- เอกสารแผนการฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติ เครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ เรื่องอุบัติเหตุ
แก่บุคลากรนอกภาคสาธารณสุขโดยเฉพาะในเรื่องที่ต้องทำงานร่วมกัน
2.) ข้อมูลเพื่อประกอบการจัดการแสดงผลงานประเมิน (รูปแบบข้อมูล วิธีการจัดเก็บข้อมูล)
เอกสารกำหนด ข้อมูล วิธีการจัดเก็บ เครื่องมือในการจัดเก็บ(เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์)
ในเรื่องการทำงานร่วมกัน เรื่องเรื่องต่าง ๆ ตามที่ได้กำหนดแผนการไว้
8. District Health Database
1.) วิธีการกำหนดชนิด ประเภท ข้อมูลและเครื่องมือในการจัดการข้อมูล
- เอกสารหรือคู่มือระบุรายการบริการและผลการบริการอุบัติเหตุและข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่จำเป็นต้องจัดเก็บ
- แบบฟอร์มหรือโปรแกรมที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลบริการอุบัติเหตุ
- รายงานอุบัติเหตุที่ถูกผลิตออกมาจากโปรแกรม
- แผนการประเมินหรือรับฟั ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการและการดำเนินการด้านอุบัติเหตุ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลอุบัติเหตุถึงความเหมาะสมในการใช้งานการปฏิบัติ ปัญหอุปสรรค ฯลฯ
- มีการสรุปบทเรียนการบริหารจัดการหรือการใช้งานข้อมูลสารสนเทศด้านอุบัติเหตุแล้วเกิดผลสำเร็จในงาน
2.) วิธีการจัดการข้อมูล (จัดเก็บ ประมวล ผลิตเป็นรายงาน) ผู้รับผิดชอบดำเนินการ
เอกสาร หลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลบริการอุบัติเหตุว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจะต้องดำเนินการอะไร ช่วงไหน การดึงข้อมูลมาใช้ประโยชน์อย่างไร
3.) วิธีการเชื่อมโยงนำไปใช้ประโยชน์
เอกสาร หลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีการ เข้าถึงข้อมูลและการนำข้อมูลบริการอุบัติเหตุไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ โดยกำหนดให้ชัดถึงข้อมูลที่นำไปใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ผู้ที่มีสิทธิเข้าถึงฯลฯ
9. Management for accessibility of essential medicines and health technology
1.) วิธีการกำหนดชนิด ประเภท ยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ที่สอดคล้องกับแผนบริการสุขภาพ
- รายการ ยา เครื่องมืออุปกรณ์ เทคโนโลยีอื่นที่เกี่ยวข้องกับบริการอุบัติเหตุ และการดำเนินงานด้านอุบัติเหตุ
- แผนการจัดหา เก็บรักษา สำรองสำรองยา เครื่องมืออุปกรณ์ เทคโนโลยีอื่นที่เกี่ยวข้องกับบริการอุบัติเหตุ และการดำเนินงานด้านอุบัติเหตุ
2.) วิธีการ จัดสรร กระจาย ติดตามการใช้ แก้ปัญหา ประเมิน
แผนการกระจาย แบ่งปัน ยา เครื่องมืออุปกรณ์ เทคโนโลยีอื่นที่เกี่ยวข้องกับบริการอุบัติเหตุ และการดำเนินงานด้านอุบัติเหตุระหว่างหน่วยบริการหรือระหว่างหน่วยงาน
3.) ข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ติดตามการดำเนินงาน
แบบฟอร์มเก็บข้อมูล เอกสาร โปรแกรม ที่ใช้ติดตามความพอเพียง เหมาะสมของยา เครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีอื่นที่เกี